"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุม อ.สุเพียร เดือนกุมภาพันธ์ 2557


งานผู้สูงอายุ(Ranking2014 หรือ พ.ศ.2557)

ผู้ประเมินจาก สสจ.ศรีสะเกษ คือ นางสรัณรัตน์  ลีนะกุลสิทธิ์
กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.ศรีสะเกษ
*************************************
รายละเอียดการประเมิน ดังนี้ 
1. เข้าพื้นที่ดำเนินโครงการLTCใหม่ จำนวน 1 แห่ง  ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานLTC ตามเกณฑ์ 7 ข้อได้แก่ 
     1.1 ข้อมูลการสำรวจ แยกรายกลุ่ม และข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ
     1.2 ข้อมูลชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่(ภาพตำบล) แบบฟอร์มผลการประเมินชมรมผู้สูงอายุตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี และภาพผลงานชมรมด้านอื่น ๆ
     1.3 ข้อมูลอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ(ผ่านการอบรมหลักสูตรของ พม.) พร้อมผลการปฏิบัติงาน ข้อมูล อสม.ที่ทำหน้าที่ด้านผู้สูงอายุ พร้อมผลการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ 
     1.4 ข้อมูลการให้บริการด้านช่องปากแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งตำบล
     1.5 ข้อมูลการเยี่ยมบ้านคุณภาพ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
     1.6 ข้อมูลการจัดบริการกลุ่ม 2 (ติดบ้าน) และกลุ่ม 3 (ติดเตียง) อย่างละเอียด
     1.7 แนวทางการดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่แก่จนถึงตาย ในบริบทของชุมชนที่กระทำอยู่เป้นประจำ
2. ในพื้นที่เดิมที่ไม่ผ่านการประเมิน ต้องสรุปงานให้เรียบร้อย เพื่อการประเมินรับรองรอบสุดท้าย
3. ในพื้นที่เดิมที่ผ่านการประเมินแล้ว ครบ 3 ปี ควรสรุปการดำเนินงาน ณ ปัจจุบันเพื่อดูความต่อเนื่อง

หมายเหตุ 
1. รวบรวมผลการดำเนินงาน แต่ยังไม่ต้องเข้าเล่ม เพื่อพร้อมที่จะรับการแก้ไข
2. จัดทำรูปเล่มแบบประเมินชมรมผู้สูงอายุตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี  จำนวน 1 เล่ม เพื่อส่งให้ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี ทำการประเมินรับรองมาตรฐานต่อไป
   ซึ่งต้องประกอบด้วย 
     - คำนำ  สารบัญ
     - ข้อมูลทั่วไปของตำบล(พอสังเขป)
     - แบบประเมินชมรมผู้สูงอายุตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี (4องค์ประกอบ)ที่ทำการประเมนตนเอง และลงนามโดยแกนนำชมรมฯ ร่วมกับ จนท.สาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในตำบลร่วมกันประเมินชมรมผู้สูงอายุ

แบบรายงานที่จะเก็บ
    แบบรายงานผู้สูงอายุ (รง.ผสอ.1-4) และแบบรายงานที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อื่นๆ เพิ่มเติม(ไม่เกี่ยวกับการประเมิน) 
    - สุ่มสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานคลีนิคDPAC ในพื้นที่เกียวกันกับ LTC


งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1. การดำเนินงานสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน(Healthy workplace)  ตามเป้าหมายตัวชี้วัดเครือข่ายบริการสุขภาพระดับเขต เขตที่ 10  ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาเครือข่ายและระบบบริการสุขภาพให้มีคุรภาพมาตรฐาน และเชื่อมโยงการให้บริการแบบไร้รอยต่อ หมวด คุรภาพบริการและมตรฐานด้านสุขภาพ ข้อที่ G18/65 ร้อยละของสถานบริการสาธารรสุขที่ผ่านเกณฑ์สถานที่ทำงานหน้าอยู่  น่าทำงาน(Healthy workplace) ตามเกณฑ์ที่กำหนด(50) นั้น  สสจ.ศรีสะเกษ ได้ส่งแนวทางการดำเนินงาน และขั้นตอนการดำเนินงานสถานที่ทำงานหน้าอยู่  น่าทำงาน(Healthy workplace)  ประจำปี 2557 มาเพื่อแจ้ง ผอ.รพ.สตและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการต่อไป
(ที่มา : ที่ ศก 0032.007/ว 171 ลง 17 ม.ค. 2557 เรื่อง 
แนวทางการดำเนินงานสถานที่ทำงานหน้าอยู่  น่าทำงาน)

    สำหรับขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
    1) สถานบริการสาธารณสุข(ร.พ.และรพ.สต.) ประเมินตนเองตามเกณฑ์ที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน ส่งให้ คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2557
    2) คปสอ. ออกประเมินสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดและส่งผลการประเมินให้ สสจ.ศรีสะเกษ ภายในเดือนมีนาคม 2557
    3) สสจ.ศรีสะเกษ ออกประเมินสถานบริการสาธารณสุขที่ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก และส่งผลการประเมินให้ สสจ.ศรีสะเกษศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี ภายในเดือนมิถุนายน 2557
    เกณฑ์การประเมิน ดังนี้    
# คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแบบประเมินตนเองตามเกณฑ์ที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน สำหรับ รพ.สต. ฉบับเอกเซล
    ส่วนการรับรองมาตรฐาน ดังนี้      
    1) ระดับพื้นฐาน  รับรองโดย  คปสอ.ขุขันธ์ 
    2) ระดับดี   รับรองโดย  สสจ.ศรีสะเกษ
    3) ระดับดีมาก  รับรองโดย  ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี


ตัวอย่างเอกสารการดำเนินงาน
สถานที่ทำงาน น่าอยู่ น่าทำงาน
(Healthy workplace) ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา

      

เกณฑ์การประเมิน สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
ตัวอย่างแผนงานตัวชี้วัด (กลุ่มแมลง) สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
แนวทางการประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
แบบประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
แบบเสนอแผนยกระดับที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน
สรุปผลการประเมิน ปี 2548
สรุปผลการพัฒนาตามโครงการ สคร.5 น่าอยู่ น่าทำงาน ปี 2548
เอกสารนำเสนอ "ความปลอดภัย"
เอกสารนำเสนอ "ความสะอาด"
เอกสารนำเสนอ "สิ่งแวดล้อมดี"
เอกสารนำเสนอ "การพัฒนาคุณภาพ"   
งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
1. การตรวจประเมินเครื่องช่วยฟังทีโรงพยาบาลศรีสะเกษ มีรายละเอียดดังนี้
    กลุ่มเป้าหมาย
        1) เป็นคนพิการทางการได้ยิน มีสมุด/บัตรคนพิการ ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกให้ และต้องไม่หมดอายุ
         2) เป็นบุคคลที่มีความพิการทางการได้ยินที่ระบุ "หูตึง"
         3) ไม่เคยได้รับเครื่องช่วยฟัง หรือรับเครื่องช่วยฟังมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
         4) มีสิทธิรักษาพยาบาลบัตรทองคนพิการ ท 74
         5) มีความประสงค์ที่จะรับเครื่องช่วยฟัง
     

    การดำเนินงาน
         
1) ขึ้นทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานประกอบคือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาบัตรคนพิการที่ออกโดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

         2) ส่งตัวกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการประเมินโดยแพทย์โสตศอนาสิก และประเมินการได้ยิน พร้อมรับเครื่องช่วยฟัง ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ณ คลีนิกโสตศอนาสิก ชั้น 2 อาคารผู้ป่วยนอก
         3) ติดตามประเมินการใช้เครื่องช่วยฟังในเดือนที่ 1 , 3 และ 6 ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ

     เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจคัดกรอง  นายพรรณศักดิ์  บุรกรณ์  นักเวชศาสตร์สื่อความหมายชำนาญการ
                                                   โทร.086-8912189


     ผู้ประสานงาน น.ส.อรัญญา  ทิพย์รอด หรือ"พี่เป็ด"  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
                            โทร. 081-6604600 อีเมล์  Arunya2505@hotmail.com


2. สสจ.ศรีสะเกษ ขอเชิญบุคลากรผู้สนใจที่รับผิดชอบงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้แก่พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ฯลฯ จาก รพท. รพช.และ รพ.สต.สมัครเข้าร่วมอบรมด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้
    1) การพัฒนาเครือข่ายบริการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากเบื้องต้น วันที่ 17-19 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารอำนวยการ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ(รับจำนวน 70คน)
    2) การพัฒนาเครือข่ายบริการด้านการฟื้นฟูทักษะทางภาษาและการพูดเบื้องต้น วันที่ 19-21 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารอำนวยการ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ(รับจำนวน 70คน)
    3) การพัฒนาเครือข่ายบริการให้บริการรถนั่งคนพิการตามมาตรฐานWHO จัด 2 รุ่น คือ 
        - รุ่นที่ 1 วันที่ 31 มีนาคม 2557 - 4 เมษายน 2557(จำนวน 20คน) 
        - รุ่นที่ 2 วันที่ 30 มิถุนายน 2557 - 4 กรกฎาคม 2557(จำนวน 20คน) 
ณ ห้องประชุมชั้น 1 ตึกพัฒนาวิชาการ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ(รับจำนวน 70คน)
หมายเหตุ- ทีมา หนังสือที่ ศก 0032.007/ว 152 ลง 17 ม.ค. 57 เรื่อง ขอเชิญเข้าร่วมอบรมด้านฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว 


3. รายการติดตามและทวงรายงาน บาง รพ.สต.ยังไม่ได้ดำเนินการเลย...
    1) ตามที่...สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์  ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุกแห่งในสังกัด สสอ.ขุขันธ์  สำรวจคนพิการแขนขาด-ขาขาด และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และสำรวจความต้องการแขนขาเทียม ตามแบบฟอร์มที่ลิงก์ด้านล่าง เพื่อ สสอ.ขุขันธ์ จะได้ส่งกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.ศรีสะเกษ(อีเมล์ iaun@hotmail.com) ที่ลิงก์
https://docs.google.com/spreadsheet/ccc?key=0Aiv0w61HpWx7dGt1LTFSelNweGtZRDNvemhuMzFtbFE&usp=sharing
หมายเหตุ
*** สาเหตุการตัดให้ระบุใหม่ทั้งหมดว่าที่ตัดขาเกิดจากสาเหตุอะไร ? (อุบัติเหตุ ,โรค/พยาธิสภาพอะไรถึงต้องตัด เป็นต้น)

    2) ด้วย สสจ.ศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของคนพิการขาขาดเพื่อให้คนพิการขาขาด ได้รับอุปกรณ์ที่เหมาะสม กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดตัวชี้วัดด้านคนพิการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตัวชี้วัด"คนพิการทางการเคลื่อนไหว(ขาขาด) ได้รับบริการครบถ้วน ร้อยละ 100 กรมการแพทย์ โดยศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ร่วมกับ สป.สช. และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการพัฒนาระบบลงทะเบียนบุคคลพิการขาขาด โดยใช้ข้อมูลคนพิการภายใต้ข้อมูลและเวปไซต์ของ สป.สช. ด้วยระบบออนไลน์ ที่ "ระบบลงทะเบียนบุคคลพิการขาขาด" เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางในการลงทะเบียนผ่านระบบสารสนเทศ
     ในการนี้ สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือ ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง แจ้งผู้รับผิดชอบงานฯกำเนินการสำรวจข้อมูลคนพิการที่ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการขาขาด ในพื้นที่รับผิดชอบ ตามแบบสำรวจสถานการณ์อุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการของคนพิการขาขาดในประเทศไทย ดาวน์โหลดที่ลิงก์  http://www.ssko.moph.go.th/sarabun/upload_file/201312091339212.pdf  แล้วกรอกข้อมูลผลการสำรวจลงในแบบฟอร์ม ดังกล่าว ส่งไฟล์มาให้ผู้รับผิดชอบงาน สสอ.ขุขันธ์ ที่อีเมล์ itkhukhan@gmail.com หรือแนบไฟล์ผ่านมาทางช่องข้อความเฟสบุคที่ itkhukhan@facebook.com ให้จงได้
*** อย่าลืม...พิมพ์แบบสำรวจเก็บไว้เพื่อรับการนิเทศงานผู้พิการเข้าแฟ้มไว้ด้วยนะครับ****

หมายเหตุ
>>> เครื่องโน้ตบุค หรือคอมฯ เครื่องใดเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์เอกซ์พี และวินโดว์ 7 ใช้โปรแกรมพิมพ์ข้อความบนไฟล์PDF ที่ชื่อว่า FoxitPhantomPDFV-2211103 ดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งได้ที่ลิงก์ https://dl.dropboxusercontent.com/u/50326557/Foxit%20Phantom%20PDF%20Suite%20Ver%202.2.1.1103.rar

>>> เครื่องโน้ตบุค หรือคอมฯ เครื่องใดเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ 8 ให้ใช้โปรแกรมพิมพ์ข้อความบนไฟล์PDF ที่ชื่อว่า Foxit PhantomPDF Business 6.1.1.1025 ดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งได้ที่ลิงก์ https://dl.dropboxusercontent.com/u/50326557/Foxit%20PhantomPDF%20Business%206.1.1.1025%2BCrack-SZ.rar

*** ถ้าทำไม่เป็นหรือไม่สะดวกก็ให้พิมพ์ฟอร์มฯออกมากรอกด้วยลายมือของท่าน แล้วสแกนส่งมาที่อีเมล์ itkhukhan@gmail.com หรือแนบไฟล์ผ่านมาทางช่องข้อความเฟสบุคที่ itkhukhan@facebook.com 



งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. รับแจ้งจาก...พี่วีระวุธ เพ็งชัย ว่าตามที่ สสจ.ศรีสะเกษให้ จนท.สาธารณสุขในสังกัดขอรหัสผ่านเข้าใช้ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ ของ สสจ.ศรีสะเกษ ซึ่งได้พัฒนาให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใช้ข้อมูลในระบบได้ถึงระดับบุคคล ซึ่งในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น
          บัดนี้ สสอ.ขุขันธ์ โดยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการส่งรายชื่อไปแล้ว 62 ท่าน
ดังปรากฏชื่อแล้วในตารางรายชื่อด้านล่างนี้ ตามหลักฐานเอกสารในลิงก์นี้  https://docs.google.com/spreadsheet/ccc?key=0Aiv0w61HpWx7dGFsQ3ZGYW1MVndyMThXNVpyVjJrZmc&usp=sharing ....ขณะนี้ ผู้รับผิดชอบแจ้งมาว่า ได้แอดยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดอัพเดทข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ทุกท่านที่่สมัครขอใช้สามารถใช้งานเป็นรายบุคคลได้แล้วตั้งแต่วันนี้(21 มกราคม 2557) เป็นต้นไป สำหรับพาสเวิร์ดใช้รหัสเลข 5 หลักของรพ.สต.แต่ละแห่ง และยูสเซอร์เนม คือ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของทุกท่าน ครับ 


2. จากผู้รับผิดชองงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สสจ.ศรีสะเกษ ...แจ้งเพื่อทราบ...งบค่าจ้างติดตั้งอินเตอร์เนตความเร็วสูงสายใยแก้วนำแสง นี้ ถูกจัดสรรตามในหนังสือที่ ศก 0032.005/ว 4357 ลง 11 ต.ค. 2556 เรื่อง แจ้งโอนเงิน UC ประจำเดือนกันยายน 2556 ครั้งที่ 4   ในข้อ1 แบ่งเป็น 2ส่วน คือ
   1) ส่วนแรก เป็นการปรับปรุงอินเตอร์เน็ตและเน็ตเวิร์คใน รพ.สต. งานไอทีฯ สสจ.ศก.แจ้งว่า"เพราะตอนแรกทำmou แล้ว ข้ามปีงานไม่เดิน CATเลยเสนอให้จ้าง Outsource เพื่อให้มีช่างเพิ่มอีกเป็น 2 ทีม โดยคุยกันไว้ทุกแห่ง เฉลี่ย 8500บาท โดยโอนตาม UC คิด UC ละ 5.xxบาท"
   2) ส่วนที่เหลือให้รพ.สต.ปรับปรุง person chronic
หมายเหตุ
*** เอกสารที่ส่งมาด้วยเพิ่มเติม หน้าที่ 2 , 3 และ 4 



งานอาชีวอนามัย
1. ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ    ได้โอนเงินให้กับโรงพยาบาลทุกแห่งเพื่อใช้สนับสนุนโครงการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ  และป้องกันโรคด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จังหวัดศรีสะเกษ ตามรายละเอียด
ตามหนังสือที่อ้างถึงนั้น(หนังสือที่ ศก.0032.005/4334 ลง11ต.ค.2556) ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษเชิญผู้รับผิดชอบงานจาก สสอ. 1 ท่าน(สสอ.ขุขันธ์ ส่งคุณสุเพียร  คำวงศ์ เข้าร่วมประชุมฯ)  และ จาก ร.พ. 2 ท่าน เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานที่ได้จัดสรรให้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2557 เวลา 08.30 - 16.30 น. 
    สสจ.ศรีสะเกษ แจ้งว่า ปีงบประมาณ 2557 ให้ดำเนินการในรูปCup และให้จัดทำโครงการรองรับ ตามวงเงินที่ได้รับการสนับสนุนภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2557 โดยทำกิจกรรมใน 3 กลุ่ม ได้แก่
    1) ภาคอุตสาหกรรม(สถานประกอบการต่างๆในอำเภอที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป)
         กิจกรรม : - ให้ความรู้
                         - ตรวจเบาหวาน ความดัน มะเร็งปากมดลูก
                         - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                         - ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง หู ตา ปอด ตะกั่ว
                         - ซ้อมแผนป้องกันอัคคีภัย

    2) ภาคเกษตรกรรม(ใน รพ.สต.เป้าหมาย อ.ขุขันธ์ 3 แห่งในตำบลโสน ได้แก่ รพ.สต.อาวอย ,
         หนองคล้า และขนุน เน้นจัดบริการคลีนิคสุขภาพเกษตรกร และเฝ้าระวังเชิงรุกการสัมผัส
         สารกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร  จะมีงบประมาณดำเนินการให้ รพ.สต.ละ 3,000บาท)

         กิจกรรม : - จัดบริการคลีนิคสุขภาพเกษตรกร เพื่อให้ความรู้ เกษตรกร และ อสม.
                         - สำรวจเกษตรกรและคัดกรองความเสี่ยงด้วยแบบ นบก.1/56 (รพ.เป้าหมายละ 500คน)
                         - ตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรด้วยกระดาษโคลีนเอสเตอร์เรส
                           (รพ.เป้าหมายละ 500แผ่น)
                         - ตรวจเบาหวาน ความดัน (สำหรับมะเร็งปากมดลูก ถ้าตรวจได้ก็ตรวจ)
                         - จัดหาชาชงสมุนไพรรางจืด(บำบัดผู้ที่มีผลเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ให้วันละ 3 ซอง 3 เวลาคือ เช้า เที่ยง เย็น เป็นระยะเวลา 7 วัน) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
                         - ทำกิจกรรมสนับสนุนเกษตรอินทรีย์
                         - รวบรวมข้อมูลและรายงานการดำเนินงานการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามแบบ OCC-นบ01 ส่ง สสจ.ศรีสะเกษ


    3) ในโรงพยาบาล(ถามพี่ณรงค์กฤษณ์  พลคำ)


         ขอเชิญทุกท่านที่สนใจโปรดฟังรายละเอียดจากไฟล์เสียงบันทึกการประชุมการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านอาชีวอนามัยแลความปลอดภัย สสจ.ศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2557 ที่แนบมาด้านล่างนี้



สำหรับจุดเน้นงานชีวอนามัยและความปลอดภัย จังหวัดศรีสะเกษ ปี2557 ดูรายละเอียดได้ที่เพาเวอร์พอยต์ออนไลน์ด้านล่างนี้

ดาวน์โหลดเอกสารการดำเนินงานอาชีวอนามัย ปีงบประมาณ 2557 เพิ่มเติม