- เปิดการขับเคลื่อนและมอบนโยบายการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวฯ โดยศ.คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และบรรยายพิเศษ "การเตรียมความพร้อมสังคมไทย...สู่สังคมผู้สูงอายุ" โดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสงกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สมาคมองค์การส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
- เปิดและเยี่ยมชมบูธนิทรรศการจากเขตสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 2000 คน
สาระสำคัญมีดังนี้
-ในปี2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง
โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ
1. ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงไม่กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
2. ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
รัฐบาลจึงสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวปกติ จำนวน 600 ล้านบาทให้แก่ สปสช.
ส่วนที่ 1 จำนวน 500 ล้านบาท จัดสรรไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จำนวนประมาณ 1,000 แห่ง
ส่วนที่ 2 จำนวน 100 ล้านบาท จัดสรรไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ประมาณ 1,000 แห่งๆละ ประมาณ 100,000 บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ
1.จัดบริการทางการแพทย์ 2.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ให้แก่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงตามชุดสิทธิประโยชน์
โดยมีกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการ
เป้าหมายการดำเนินงานในปี 2559
1. ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 100,000 คน
2. ในพื้นที่ประมาณ 1,000 ตำบลในทุกจังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร
สิ่งที่คาดหวังผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงจะได้รับการดูแล
1. จากทีมสหวิชาชีพจากหน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
2. บริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพและตามชุดสิทธิประโยชน์
3. โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่น
4. ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าเท่าเทียม
5. ผู้สูงอายุมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี เป็นหลักชัยของสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
6.เกิดสังคมเอื้ออาทรด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทีมหมอครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชนเพื่อ "สังคมไทยสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้"
บทบาทหน้าที่ของส่วนต่างๆมีดังนี้
1. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
1.1 จัดทำกรอบแนวทาง ประกาศ ระเบียบ พื้นที่เป้าหมายร่วมกับเขตและกระทรวงสาธารณสุข
1.2 จัดสรรงบประมาณรายเขตที่จะโอนให้กองทุน อปท.ในพื้นที่ที่เข้าร่วมดำเนินงาน
1.3 สนับสนุนด้านข้อมูลวิชาการ องค์ความรู้ และเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้
1.4 กำหนดชุดสิทธิประโยชน์และเกณฑ์การได้รับการสนับสนุนตามชุดสิทธิประโยชน์
1.5 พีฒนาระบบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวางแผน และบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวฯ
1.6 สนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรในส่วนกลาง เขตและพื้นที่
1.7 จัดกระบวนการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่
1.8 ติดตามและประเมินผลการศึกษาและพัฒนาขยายผล
2. สปสช. สาขาเขต และเขตสุขภาพกระหรวงสาธารณสุข
2.1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน แก่กองทุน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
2.2 บริหารจัดการงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงาน ได้แก่
2.2.1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในระดับพื้นที่
2.2.2 การฝึกอบรม Care Manager Care Giver ฯลฯ
2.3 ประสานสนับสนุนการดำเนินงานกลไกคณะกรรมการ ได้แก่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ เพื่อบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
2.4 ร่วมจัดกระบวนการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่
2.5 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและพัฒนาขยายผล
3. หน่วยบริการปฐมภูมิ(เช่น รพศ./รพท. และ รพช.)
3.1 จัดบริการ/บริหารการจัดบริการ ตรวจคัดกรอง ตรวจประเมินความต้องการดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวฯ
3.2 จัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุที่รับผิดชอบในระดับอำเภอ กระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายในระดับอำเภอใช้ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นฐานในการจัดบริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านบริการทางการแพทย์และบริการด้านสังคม
3.3 สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนวิชาการแก่ รพ.สต. ดำเนินกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แก่การดูแลระยะยาวฯ
3.4 ปรับระบบการจัดบริการของสถานพยาบาล เพื่อรองรับความจำเป็นด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป(จาก Acute care oriented เป็น Chronic care oriented) ซึ่งต้องมีการจัดกระบวนการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์จัดบริการ
3.5แสวงหาความร่วมมือจากหน่วยบริการ หน่วยบริหารจัดการ อปท. อสม. อผส. รวมถึง สมาคม ชมรม เครือข่ายภาคประชาชนร่วมจัดบริการ ร่วมสนับสนุนการจัดบริการ
3.6 พัฒนาการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในชุนที่มีความเชื่อมโยงกับสถานพยาบาล และบูรณาการระหว่างบริการด้านการแพทย์และบริการด้านสังคม
4. เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ(เช่น รพ.สต.)
4.1 จัดบริการเชิงรุก/บริหารจัดการบริการตรวจคัดกรอง ตรวจประเมินความต้องการดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลโดยสหวิชาชีพ รวมถึงกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวฯ
4.2 จัดทำแผนงาน/โครงการในการจัดบริการดูแลระยะยาวฯในพื้นที่ร่วมกับศูนย์บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่
4.3 จัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่รับผิดชอบในระดับตำบลกระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายในระดับตำบลใช้ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นฐานในการจัดบริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านบริการทางการแพทย์และบริการด้านสังคม
4.4 ประสานงานกับผู้จัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ควบคุมกำกับการดำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) เพื่อให้ดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.5 ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ อปท. /ภาคประชาชน ในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4.6 ร่วมกับผู้จัดการระบบฯ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ(Care Giver) ในการทำงานเชิงรุกในระดับพื้นที่ ทั้งการนิเทศติดตาม การให้คำปรึกษาทั้งทางด้านการดูแลและการทำงาน
4.7 เสริมพลังแก่ครอบครัวผู้สูงอายุและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการให้ความรู้/คำปรึกษา/คำแนะนำ
4.8 แสวงหา ประสานความร่วมมือจาก รพช. สสอ. อปท. รวมถึง สมาคม ชมรม เครือข่ายภาคประชาชน พมจ. ร่วมจัดบริการ ร่วมสนับสนุนการจัดบริการ สนับสนุนงบประมาณ
4.9 ร่วมกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
มีบทบาทหลักในการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เน้นการจัดบริการด้านสาธารณสุข โดยบูรณาการกับบริการด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนให้เกิดระบบสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้แก่ สวัสดิการเบี้ยยังชีพ การปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน การสนับสนุนการเดินทางเพื่อมารับบริการ การสนับสนุนกายอุปกรณ์ การพัฒนาด้านอาชีพรายได้แก่ทั้ง ผู้สูงอายุ /ผู้ดูแล การสนับสนุนด้านสังคมอื่นๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ การสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงาน/องค์กร/ชมรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการในการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ และร่วมกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
เอกสารประกอบการประชุม
1. กำหนดการประชุม
2. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Long Term Care ) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2559
3. คู่มือป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
4. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ พิมพ์ครั้งที่ 4 พฤศจิกายน 2557
5. แบบประเมินผลการประชุมฯ
ขอบคุณที่มา: ไลน์กลุ่มงานผู้สูงอายุ สสจ.ศรีสะเกษ