"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนเดือนมิถุนายน 2559 (ฤทธาธร ดอกพอง)

. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย  ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ – ๑๖  พฤษภาคม  ๒๕๕๙ มีรายงานผู้ป่วยจำนวน  ๑๗,๑๗๐ ราย  อัตราป่วย  ๒๖.๒๔ ต่อแสนประชากร  ผู้ป่วยเสียชีวิต ๑๔ ราย คิดเป็นอัตราตาย ๐.๐๒   ตอแสนประชากร  สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง  ๑: .๙๗  เกิดได้ในทุกกลุ่มอายุป่วยมากสุดคือ ๑๕-๒๔ ปี   (๒๕.๒๑ %) รองลงมา  คือ  ๑๐-๑๔ ปี (๑๗.๒๕ %) และ๒๕-๓๔ ปี(๑๕.๘๒%) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร  ๕ อันดับแรก คือ  กรุงเทพมหานคร  (๖๑.๔๘) ระยอง (๕๖.๙๒) ภูเก็ต (๔๘.๖๓)  สมุทรสาคร (๔๖.๔๑)  และ ตราด (๔๕.๓๖)  
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดศรีสะเกษ  จาก ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ มีผู้ป่วย
๕๗๒ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย ๓๙
.๐๔ ต่อแสนประชากร  เป็นอันดับที่ ๘ ของจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด  ผู้ป่วยเสียชีวิต
๒ ราย  ที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอวังหิน อำเภอละ ๑ ราย  อัตราตาย ๐
.๑๔ ต่อประชากรแสนคน อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร ๕ อันดับแรก ได้แก่ อำเภอกันทร
ลักษ์ (๖๑.๓๑)รองลงมาคือ อำเภอขุนหาญ (๕๖.๑๘)  อำเภอปรางค์กู่ (๕๒.๙๓)  อำเภอราษีไศล (๕๐.๕๖)  และอำเภอกันรารมย์ (๔๙.๙๗)
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดศรีสะเกษดังกล่าว กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์โรคและนำเสนอต่อผู้บริหารทุกสัปดาห์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษและนายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน  ได้ติดตามผลการควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยหลายราย จำนวน ๔ ครั้ง ๗ หมู่บ้าน วัด๕ แห่ง โรงเรียน ๓ แห่ง  พบว่ามีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำสูงเกินเกณฑ์(เกณฑ์ค่าHI<๑๐) ทั้งในหมู่บ้าน วัด โรงเรียน
ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประชาชนยังขาดแคลนน้ำจึงไม่สามารถขัดล้างภาชนะเก็บน้ำได้  แต่ในขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ทำให้มีภาชนะเก็บน้ำจำนวนมากขึ้น รวมทั้งมีภาชนะขังน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น กาบใบไม้ กอไผ่ เป็นต้น
ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จึงขอความร่วมมือรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ ในระหว่างวันที่ ๑ – ๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ และวันไข้เลือดออกอาเซียน วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙  ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อม และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีก็สามารถทำได้ เช่น การขัดล้างภาชนะเก็บน้ำทุกสัปดาห์ การปิดฝาโอ่งให้มิดชิดหรือการปล่อยปลายกินลูกน้ำ เป็นต้น และขอความร่วมมือนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการดำเนินงานและกระตุ้นให้ประชาชนดูแลบ้านเรือนตนเองไม่ให้มีลูกน้ำ  
       
. สถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome ; MERSหรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome ; MERS)
          องค์การอนามัยโลก (
WHO: World Health Organization)  รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรค  ทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด ๒๗ ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน ๑,๗๓๓  ราย เสียชีวิต ๖๒๘ ราย
สถานการณ์ในประเทศไทย  เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๙ กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ รายที่ ๒ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นชายชาวโอมาน อายุ ๗๑ ปี   และวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ นายแพทย์โสภณ  เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจ้งผลการรักษาว่าผู้ป่วยหายเป็นปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อไวรัสเมอร์ส ๒ ครั้ง         จากห้องปฏิบัติการอ้างอิง ๓ แห่ง ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก พร้อมประสานสถานทูต เพื่อรับส่งผู้ป่วยกลับประเทศ  ส่วนญาติผู้ป่วยที่รับตัวไว้สังเกตอาการ อาการปกติดี ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสเมอร์ส ได้เดินทางกลับไปพร้อมกัน ในส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงรายอื่นๆ กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามอาการภายหลังกลับบ้าน   ทุกคนสบายดี   
ประเทศไทย ยังมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่จะพบโรคเมอร์ส รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้เสมอ จากการที่มีผู้เดินทางเข้า-ออกจากประเทศ จึงต้องมีการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น โดยตรวจคัดกรองผู้เดินทางจากพื้นที่ติดโรค ที่ช่องทางเข้าออกประเทศ ในโรงพยาบาล และในชุมชน ต้องยกระดับมาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น

. การเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
องค์การอนามัยโลก เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๑๑ พฤษภาคม  ๒๕๕๙  พบ
ผู้ป่วยสะสมรวม ๒๘,๖๕๒ ราย  เสียชีวิต ๑๑,๓๒๕ ราย  เกิดการระบาดเป็นวงกว้างใน  ๓  ประเทศ  ได้แก่ กินี (ป่วยสะสม ๓,๘๑๔ ราย,เสียชีวิต ๒,๕๔๘ ราย ,ผู้ป่วยรายใหม่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ ๘  รายไลบีเรีย(ป่วย ๑๐,๖๗๘ ราย,เสียชีวิต ๔,๘๑๐ ราย, ผู้ป่วยรายใหม่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ ๔ ราย)เซียร์ราลีโอน (ป่วย ๑๔,๑๒๔ ราย,เสียชีวิต ๓,๙๕๖ ราย, ผู้ป่วยรายใหม่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ       ราย)  องค์การอนามัยโลกประกาศให้ประเทศไลบีเรีย เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลา ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ประกาศให้สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลา ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘  และประกาศให้สาธารณรัฐกินีเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลา ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘  หลังจากนั้นได้มีรายงานพบผู้ป่วยเพิ่มเติม๓๖ ราย เสียชีวิต ๑๕ ราย และประเทศที่มีการระบาดในพื้นที่จำกัด ได้แก่  ไนจีเรีย เซเนกัล สหรัฐอเมริกา สเปน มาลี อิตาลี และสหราชอาณาจักร พบผู้ป่วยสะสม ๓๖ ราย เสียชีวิต ๑๕ ราย
          การเฝ้าระวังหากพบ  ผู้มีอาการไข้มากกว่า  ๓๘ องศาเซลเซียส  ที่เดินทางกลับมาจาก ๓ ประเทศหลัก  ได้แก่  กินี ไลบีเรีย เซียร์รารีโอล สามารถโทรแจ้งได้ที่ ๐๔๕-๖๑๕๙๗๒ ในเวลาราชการและ๐๘๒-๑๓๗๒๗๙๓ นอกเวลาราชการ หากค้นพบเจอจะได้ให้การรักษา  ที่ถูกต้อง  รวมถึงการควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดของโรคสู่บุคคลอื่น

          . สถานการณ์โรคอุจาระร่วง 
 สถานการณ์โรคโรคอุจาระร่วงประเทศไทย  ตั้งแต่ ๑ มกราคม – ถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙    พบผู้ป่วย ๔๑๔,๖๐๙ ราย จาก๗๗ จังหวัดคิดเป็นอัตราป่วย ๖๓๓.๗๐ ต่อแสนประชากร  ผู้ป่วยเสียชีวิต  จำนวน ๒ ราย  สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง ๑: .๒๘ กลุ่มอายุที่พบ มากที่สุด คือมากกว่า ๖๕  ปี (๑๒.๗๐ %)  รองลงมาคือ  ๑๕-๒๔ ปี (๑๐.๙๐%) ๒๕-๓๔ ปั (๑๐.๐๓%)  สถานการณ์ โรคอุจาระร่วงจังหวัดศรีสะเกษ  
-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ มีรายงานผู้ป่วยโรคอุจาระร่วง    จำนวนทั้งสิ้น ๑๑,๑๓๔ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย  ๗๕๙.๙๐  ต่อประชากรแสนคน  ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต   กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๐ - ๔  ปี  (๔,๔๔๔.๖๒ ต่อแสนประชากร) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ ๕–๙  ปี (๑๑๙๘.๔๖ ต่อแสนประชากร), ๖๕ ปี ขึ้นไป (๑๐๔๙.๕๘ ต่อแสนประชากร)  อำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุด  ๕  อันดับแรก ได้แก่ ขุนหาญ ๑,๔๘๔.๑๐ ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอขุขันธ์ ๑,๑๘๕.๒๑   ต่อประชากรแสนคน ,อำเภอเบญจลักษ์  ๑,๐๙๘.๓๙ ต่อประชากรแสนคน, อำเภอเมืองจันทร์  ๑,๐๕๐.๐๖ ต่อประชากรแสนคน , และอำเภอภูสิงห์  ๑,๐๑๘.๓๘ ต่อประชากรแสนคน  
อากาศช่วงนี้เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลที่แมลงภาหะนำโรคมีอาหารและแพร่พันธุ์ได้จำนวนมาก  เสี่ยงต่อการระบาดของโรคอุจาระร่วง  ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จึงขอความร่วมมือจากท่านผู้นำชุมชน และหัวหน้าส่วนราชการ  ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงการใช้มาตรการ กินร้อน  ช้อนกลาง ล้างมือ  เพื่อลดการติดเชื้อหรือสัมผัสกับอาหารที่อาจก่อให้เกิดการระบาดของโรคได้  อันจะเป็นป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยและจำกัดการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
 
๕. สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส
สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสประเทศไทยตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙– ถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วย ๕๕๖ ราย จาก ๔๔ จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย ๐.๘๕  ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต ๕ ราย อัตราตาย ๐.๐๑ต่อแสนประชากร สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง ๑ :.๒๙ กลุมอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลําดับ คือ
๔๕
-๕๔ ป (๒๑.๐๔ %) ๓๕-๔๔ ป (๑๙.๐๖ %)  ๒๕-๓๔ ป (๑๗.๔๕ %)
            สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีสจังหวัดศรีสะเกษ  ๑ มกราคม ๒๕๕๙
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙  มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส  จำนวนทั้งสิ้น  ๘๒ ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   ๕.๖๐  ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต  ๓  ราย ที่อำเภอขุขันธ์ ๒ ราย ที่อำเภอไพรบึง ๑ ราย อัตราป่วยตาย ๐.๒๐ ต่อประชากรแสนคน กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๔๕–๕๔ ปี (๑๑.๒๙ ต่อประชากรแสนคน)  รองลงมาคือ กลุ่มอายุ  ๕๕ – ๖๔  ปี (๘.๐๑ ต่อประชากรแสนคน)  , ๓๕-๔๔ ปี  (๗.๙๕ ต่อประชากรแสนคน)    อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือเกษตร  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  ๕๕  ราย  รองลงมาคือ อาชีพในปกครอง  จำนวนผู้ป่วย ๕  ราย, อาชีพบุคลากรสาธารณสุข  ๕  ราย และอาชีพอื่นๆ ๔  อำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุด  ๕  อันดับแรก ได้แก่  อำเภอขุขันธ์  ๑๕.๓๑  ต่อประชากรแสนคน  รองลงมาคือ
อำเภอศรีรัตนะ๑๓.๒๔ ต่อประชากรแสนคน,อำเภอปรางค์กู่ ๑๓.๒๓ ต่อประชากรแสนคน, อำเภอภูสิงห์ ๑๑.๒๗ ต่อประชากรแสนคน  และอำเภอไพรบึง ๑๐.๓๘ ต่อประชากรแสนคน
จากข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าอาชีพที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่อาชีพเกษตรกรรม และมีอายุมาก  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงตามวัย  เชื้อก่อโรคได้อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและแหล่งน้ำในธรรมชาติ  ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์  มีความจำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  เน้นให้ประชาชนให้มีความรู้ และปฏิบัติตัวเพื่อลดการติดเชื้อ เน้นหลังจากดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร  ที่สัมผัสแหล่งน้ำในธรรมชาติ แล้วให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที  หน่วยบริการในพื้นที่ใช้เครื่องมือในการคัดกรองผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรซีส  เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการ  ตรวจพบและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นการลดจำนวนผู้ป่วยได้ในระยะยาว  
          
๖. งานระบาดวิทยา   
.๑ เฝ้าระวังรายงาน ๕๐๖
นับตั้งแต่ ๑ –๒๔  พฤษภาคม  ๒๕๕๙  โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ๑๐ อันดับแรก  ได้แก่
ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  โรคอุจจาระร่วง ปอดบวม ตาแดง อาหารเป็นพิษ
STD(Sexual  Transmitted  Disease)   สุกใส  ไข้เลือดออก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ตามลำดับ การส่งรายงาน ๕๐๖ ในเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๙ ภาพรวมทั้งหมดมีการส่งรายงาน ๓,๖๔๐ ราย ส่งทันเวลา  ๓,๓๐๓    ความทันเวลาร้อยละ ๙๐.๗๔ จำแนกเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีรายงานผู้ป่วย  ๑๙๗ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘๗  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งหมด ส่งข้อมูลบัตรรายงานโรคทั้งหมด ๙๗๓ มีความทันเวลาร้อยละ  ๙๘.๗๐ และโรงพยาบาลที่มีรายงานผู้ป่วย
๒๓ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๑๐
.๐๐  ของโรงพยาบาลทั้งหมด ส่งข้อมูลบัตรรายงานโรคทั้งหมด ๒,๕๑๐ มีความทันเวลาร้อยละ  ๘๘.๘๐

          .๒  ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค  ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาดวิทยา  ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อโปรแกรม r๕๐๖  จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่วันที่ ๑๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙  มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น  ๓๖ ราย ใน ๑๑  อำเภอ มี ๓ โรค ๔ รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง ๕๐๖ ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือไข้เลือดออก จำนวน ๑๙  ราย  จำแนกเป็น Dengue fever  จำนวน  ๑๗ ราย   D.H.F.  จำนวน  ๒  ราย  รองลงมาคือ leptospirosis จำนวน  ๑๒  ราย  และมาลาเรีย จำนวน  ๕  ราย 
ดังนั้นขอให้ SRRT  แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรคส่งสำนักงานสาธาณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน