ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
*********************
๑) สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
ประเทศไทย ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วย 66,372
ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 101.44 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 84 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.13 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.93 กล่มุ อายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 15-24ปี (25.55 %), 10-14 ปี (20.74 %), 25-34 ปี (13.64 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ นักเรียนร้อยละ 48.2,รับจ้างร้อยละ 19.0, ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครองร้อยละ 17.2 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ นครปฐม (239.50 ต่อแสนประชากร), พิจิตร (211.43 ต่อแสนประชากร),นครสวรรค์(209.91 ต่อแสนประชากร), นครนายก (207.03 ต่อแสนประชากร) และเชียงราย (200.51ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 1,734 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.34 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.07 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.06 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ1.04 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 5 - 9 ปี (531.55 ต่อแสนประชากร), 10 - 14 ปี(510.17 ต่อแสนประชากร), 0 - 4 ปี (171.59 ต่อแสนประชากร), 15 - 24 ปี(165.18 ต่อแสนประชากร) 25 - 34 ปี (45.12 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ นักเรียน จำนวน 1,132 รายเกษตรกรจำนวน 253 ราย, ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง จำนวน 221 ราย,อื่นๆ จำนวน 74 ราย, รับจ้าง,กรรมกร จำนวน 16 ราย, ข้าราชการ จำนวน 12 ราย, ทหาร,ตำรวจ จำนวน10 ราย, ค้าขาย จำนวน 4 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือขุขันธ์(225.39 ต่อแสนประชากร), ขุนหาญ(174.71 ต่อแสนประชากร), วังหิน (174.19 ต่อแสนประชากร),กันทรลักษ์ (166.44 ต่อแสนประชากร), ภูสิงห์ (130.78 ต่อแสนประชากร), รายชื่อหมู่บ้านต้องควบคุมโรคเข้มข้นจำนวน 22 หมู่บ้าน ดังแสดงที่ เว็บไซด์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ www.ssko.moph.go.thขอให้ทีม SRRT ระดับอำเภอร่วมกับทีม SRRT ระดับตำบล ในพื้นที่ให้ความสำคัญและควบคุมโรคเข้มข้นไม่ให้มีผู้ป่วยใหม่ภายใน 28 วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมยับยั้งการระบาดของโรคในพื้นที่อย่างเร่งด่วน และติดตามสถานการณ์ข้อมูลผู้ป่วยทางหน้าเว็บไซด์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
๒) สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซิส
ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 7 ก.ย. 61 พบผู้ป่วย 2,203 ราย จาก 69 จังหวัดคิดเป็นอัตราป่วย 3.37 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 25 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อแสนประชากร
อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.22 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 45-54 ปี (22.02 %),35-44 ปี(18.57 %), 55-64 ปี (16.98 %) อาชีพส่วนใหญ่ เกษตรกรร้อยละ 48.0, รับจ้างร้อยละ 20.9,นักเรียนร้อยละ 11.0 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ พังงา (20.93 ต่อแสนประชากร), ศรีสะเกษ (20.45 ต่อ แสนประชากร), ยะลา (14.56 ต่อแสนประชากร), ยโสธร (14.07ต่อแสนประชากร)และเลย (12.57 ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 314 รายคิดเป็นอัตราป่วย 21.79 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 7 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 0.49 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 2.23 อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิงเท่ากับ 4.06 : 1๘
กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 55 - 64 ปี (43.12 ต่อแสนประชากร) 45 - 54 ปี
(35.96 ต่อแสนประชากร), 65 + ปี (31.55 ต่อแสนประชากร), 35 - 44 ปี (24.57 ต่อแสนประชากร),25 - 34 ปี (15.82 ต่อแสนประชากร), อาชีพที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ เกษตรกร จำนวน 216ราย, อื่นๆ จำนวน 50 รายไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง จำนวน 16 ราย รับจ้าง,กรรมกร จำนวน 13 ราย,นักเรียน จำนวน 11 รายค้าขาย จำนวน 3 ราย, นักบวช จำนวน 2 ราย, ทหาร,ตำรวจ จำนวน 2 ราย,อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ภูสิงห์ (58.12 ต่อแสนประชากร), ขุขันธ์(46.04 ต่อแสนประชากร), น้ำเกลี้ยง (45.69 ต่อแสนประชากร), ขุนหาญ (41.46 ต่อแสนประชากร),ปรางค์กู่ (35.71 ต่อแสนประชากร)โรคนี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ ดังนั้นควรหากมีผู้ป่วยในพื้นที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการอย่างน้อย 2 อาการ ต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ปวดน่อง มีประวัติ
ทำอาชีพทางการเกษตร ต้องรีบไปเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลทันที โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลดำเนินการซักประวัติสัมผัสน้ำ หากอาการเข้าได้ให้ทำการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิส ใช้ CPG เป็นแนวทางในการรักษา จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังควบคุมโรค
ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 7 ก.ย. 61 พบผู้ป่วย 58,125 ราย จาก 77 จังหวัดคิดเป็นอัตราป่วย 88.84 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.80 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ 1 ปี (25.21 %), 2 ปี (23.59 %) และ 3 ปี (19.37 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครองร้อยละ 85.9, นักเรียน ร้อยละ 12.5 และอื่นๆร้อยละ 1.0 จังหวัด ที่มีอัตราป่วยต่่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ จันทบุรี(264.55 ต่อแสนประชากร), กรุงเทพมหานคร (155.59ต่อแสนประชากร), พะเยา (154.90 ต่อแสนประชากร), ระยอง (151.68 ต่อแสนประชากร), เชียงใหม่(149.42 ต่อแสน ประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 ต.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 648 รายคิดเป็นอัตราป่วย 44.97 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.33 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 0 - 4 ปี (746.11 ต่อแสนประชากร), 5 – 9 ปี(50.25 ต่อแสนประชากร), 10 - 14 ปี (7.68 ต่อแสนประชากร) 15 - 24 ปี, (3.25 ต่อแสนประชากร)และ 55 - 64 ปี (1.31 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุด ตามลำดับ คือ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง
จำนวน 601 ราย, นักเรียน จำนวน 42 ราย, เกษตรกร จำนวน 4 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ยางชุมน้อย (135.57 ต่อแสนประชากร), ภูสิงห์ (89.26 ต่อแสนประชากร), เมือง(85.39 ต่อแสนประชากร), บึงบูรพ์ (83.04 ต่อแสนประชากร), ราษีไศล (67.47 ต่อแสนประชากร)โรคนี้พบมากในเด็กโดยเฉพาะอายุ 0-4 ปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เกี่ยวข้องกับการดูสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เด็กยังทำได้ไม่ดี จึงขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทั้งที่พบผู้ป่วยและที่ยังไม่พบผู้ป่วยได้ให้สุขศึกษาในการดูแลความสะอาดแก่เด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคมือเท้าปากแก่ครูพี่เลี้ยงเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมไปถึงประชาสัมพันธ์ให้ครูและผู้ปกครองสังเกตอาการเด็กในปกครอง หากมีอาการไข้ มีตุ่มบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้พาบุตรหลานไปรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน และหากได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก แนะนำผู้ปกครองให้เด็กหยุดเรียนและรักษาตามคำแนะนำของแพทย์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข รวมไปถึงไม่นำเด็กที่ป่วยไปเล่นกับเด็กคนอื่นในหมู่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อลดการ๙
แพร่กระจายของโรคและเป็นการควบคุมโรคที่ถูกต้อง ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พบว่ามีเด็กป่วยควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพต่อไป
๔ งานระบาดวิทยา
๔.๑ เฝ้าระวังรายงาน ๕๐๖
นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 19 ตุลาคม 2561 โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
10 อันดับแรก ได้แก่ โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ, อุจจาระร่วง, ปอดบวม, ตาแดง, อาหารเป็นพิษ, ไข้เลือดออก,STD (Sexually Transmitted Disease), อีสุกอีใส, ไข้หวัดใหญ่และวัณโรค ตามลำดับ การส่งรายงาน 506ในเดือนตุลาคม 2561
4.2 ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
มีผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ
โปรแกรม R506 จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2561 – 19 ตุลาคม 2561 มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น 218 ราย ใน 19 อำเภอ มี 5 โรค 6 รหัสโรค ในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง. 506 ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือ ไข้เลือดออก เท่ากับจำนวน 96 ราย จำแนกเป็น DFจำนวน 74 ราย และ DHF จำนวน 22 ราย รองลงมาคือ โรคมือเท้าปาก จำนวน 65 ราย โรคเลปโตสไปโรซิส จำนวน 39 ราย, มาลาเรีย จำนวน 16 ราย, ไข้สมองอักเสบและโรคหัด เท่ากัน จำนวน 1 รายดังนั้นขอให้ SRRT แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรค ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยแนบไฟล์เข้าในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศรีสะเกษhttp://203.157.165.115/r506/investigation.php หัวข้อ ส่งรายงานสอบสวนโรค เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานและให้คะแนนตามเกณฑ์แร้งกิ้งต่อไป