"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

แนวทางการดำเนินงานเลปโตสไปโรซิส

คู่มือการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ
*******************
ก่อนเกิดโรค
          1.  ตั้งทีมควบคุมโรคในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน
          2.  อบรมให้ความรู้  ทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน / อสม.  ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค
3.  การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยการใช้เครือข่าย อสม.  โดยการให้ความรู้แก่ อสม.  ในการค้นหาผู้ป่วย  โดยเมื่อพบผู้ที่มีอาการสงสัยให้แนะนำมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน  และแจ้งข่าวเหตุผิดปกติในชุมชน เพื่อลงทะเบียนรับแจ้งข่าวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ทราบด้วยและทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะได้ดำเนินงานตามขั้นตอน
4. สำรวจแหล่งที่มีน้ำขังในหมู่บ้าน  ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง สระน้ำ ห้วย บึง ลงในแผนที่แต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ดังนี้ คือ
          - เป็นข้อมูลประกอบการสอบสวนโรค  ในการค้นหาแหล่งโรค
          - เป็นข้อมูลในการประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคให้ประชาชนทราบ
          - เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคในหมู่บ้านได้ง่ายยิ่งขึ้น
ระยะเกิดโรค
1.     การวินิจฉัยโรคได้เร็วในสถานบริการ
*  รพสต /แผนก OPD / ER  เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย ดังนี้คือ
                    - มีไข้สูงเฉียบพลัน (38-40 องศา C)
                    - ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา
                    - ปวดกล้ามเนื้อที่น่อง ต้นขา หรือสะโพก
                    - มีประวัติลุยน้ำ แช่น้ำ หรือสัมผัสแหล่งน้ำ
                    ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวให้สงสัยว่าเป็นโรคไข้ฉี่หนู  ให้แจ้งกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน   เพื่อทำการสอบสวนโรค
                  * แผนก IPD เมื่อแพทย์วินิจฉัยเป็นโรคไข้ฉี่หนู หรือ R/O แจ้งกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน  เพื่อดำเนินการสอบสวนโรค  และแจ้งให้แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทราบ  เพื่อดำเนินการควบคุมโรค
2. การสอบสวนโรค
-  เมื่อได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยให้ทำการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสแหล่งรังโรคโดยเร็วโดยเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส  ดังเอกสารอ้างอิง ถ้ามีคะแนนรวมเท่ากับ 20 คะแนน ขึ้นไป ให้สรุปว่าเป็นผู้ป่วย  ผู้สัมผัสเเหล่งรังโรคร่วมกับผู้ป่วยให้เฝ้าระวังอาการและในผู้ใหญ่ให้จ่ายยา Doxycycline  วันละ 2  ครั้ง ๆ ละ 100 mg  นาน  7  วัน (ไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บป่วยก่อน แนะนำเรื่องการรับประทานยา ลดอาการข้างเคียง )ในเด็กให้ปรึกษาหมอเด็กก่อนให้ยา
- ดำเนินการสอบสวนโรคทันที  ตามแบบสอบสวนโรคเฉพาะราย ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มการสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์เก็บไว้ที่รพสต.และส่งงานระบาด สสอ.1 ชุด  สสอ.ส่งงานระบาดสสจ 1 ชุด

3. การควบคุมโรคในชุมชน
                    1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบว่ามีการเกิดโรคในพื้นที่
                    2. ติดป้ายเตือนภัยโรคเลปโตสไปโรซิส  ว่าพื้นที่นี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ต้องระมัดระวังในการลงสัมผัสแหล่งรังโรค และเน้นสุขวิทยาส่วนบุคคลในการป้องกันตนเอง
                    3. ประชุมให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน  เรื่อง
                             - สาเหตุของโรค
                             - แหล่งรังโรค  หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อโรค
                             - การติดต่อ
                                        - อาการที่สำคัญของโรค  โดยเน้นให้ผู้ป่วยที่มีอาการไข้   หรือสงสัยให้รีบมารับการรักษาทันที
                             - การป้องกันโรค  โดยอธิบายวิธีการป้องกันและควบคุมโรคในระดับบุคคล ครอบครัวและหมู่บ้าน
                    4. การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน
                             - ค้นหาผู้ที่มีอาการไข้ ร่วมกับมีประวัติสัมผัสแหล่งน้ำพื้นที่แหล่งรังโรค ด้วยยาปฏิชีวนะครบชุดทันที   ดังนี้  คือ
                                       - Doxycycline  วันละ 2  ครั้ง ๆ ละ 100 mg  นาน  7  วัน
                                       หรือ Amoxycyclin 500 mg ทุก 6 ชั่วโมง  นาน 5-7 วัน
                                       หรือ Ampicillin 500 mg  ทุก 6 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
                                          ร่วมกับการให้ยาตามอาการ  เช่น ยาลดไข้  Paracetamol  และเจ้าหน้าที่ต้องลงติดตามอาการไข้ ระบบปัสสาวะ วัดความดัน ทุกวัน จนกว่าอาการดีขึ้น ถ้าสองวันไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อโรงพยาบาล
    หมายเหตุ  ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการเกิน 48 ชั่วโมง  ให้เจ้าหน้าที่รับส่งผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที ถ้าไม่มีพาหนะนำส่ง ให้ติดต่อขอความอนุเคราะห์หน่วยบริการกู้ชีพ 1669
                    5. สอบสวนค้นหาแหล่งรังโรคที่น่าสงสัย  และลงไปดูและตรวจสอบพื้นที่จริงเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของแหล่งรังโรค  ถ้าสงสัยให้ติดป้ายประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยโรคเลปโตสไปโรซิส
         


4. การเฝ้าระวังโรค
          1. เฝ้าระวังโรคและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 30 วัน  นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรก
          2. สร้างเครือข่ายการรายงานโรคในหมู่บ้านโดยทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน เครือข่าย อสม.
          3. วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์โรค  โดยการทำ Epidemic curve เป็นรายหมู่บ้าน และทำแผนที่แบบจุด (Sport map)

เกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยเลปโตสไปโรซิส

ชื่อผู้ป่วย................................................................ที่อยู่.....................................................................HN…………
วิธีการบันทึก    1.  โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่อง (    ) 
     2.รวมคะแนนจากช่อง  (   )  ที่ทำเครื่องหมาย /
        สรุป  ผลการวินิจฉัยทางคลินิก  ถ้าคะแนนรวมเท่ากับ 20  คะแนน  ขึ้นไป  สรุปได้ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส
คำถาม
คำตอบ
คะแนน
คำตอบ
คะแนน
ก.     ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้
1. ปวดศรีษะเฉียบพลัน

(     ) มี

2

(     ) ไม่มี

0
2.  มีไข้
(     ) มี
2
(     ) ไม่มี
0
3.   ไข้สูงกว่า  39  องศาเซลเซียส
(     ) มี
2
(     ) ไม่มี
0
4.  ตาแดงจัด  ( ทั้ง  2  ข้าง )
(     ) มี
4
(     ) ไม่มี
0
5.  ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง)
(     ) มี
4
(     ) ไม่มี
0
6.   คอแข็ง
(     ) มี
4
(     ) ไม่มี
0
7.  มีอาการ 3  อย่าง  ( ตาแดง  ปวดกล้ามเนื้อและคอแข็ง)
(     ) มี
10
(     ) ไม่มี
0
8.  มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือ ไอเป็นเลือด หรือมีผื่น หรือจุดเลือดออกทางผิวหนัง
(     ) มี
1
(     ) ไม่มี
0
9.  ดีซ่าน
(     ) มี
1
(     ) ไม่มี
0
10.  มีโปรตีนในปัสสาวะ  หรือปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะน้อย
(     ) มี
2
(     ) ไม่มี
0
ข.      ภายใน  14  วันก่อนป่วย มีปัจจัยข้อใดข้อหนึ่ง
-   ทำงานหรือย่ำในน้ำ หรือที่ชื้นแฉะ หรือ
-   แช่น้ำหรือว่ายน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ  หรือ
-  ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์  หรือ
-  ทำงานในโรงงานฆ่าสัตว์ หรือ
-  ชำแหละซากสัตว์โดยเฉพาะหนู  หรือ
-   สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย  หรือ
-   รับประทานอาหารค้างมื้อไม่มีภาชนะปิด  หรืออุ่นให้ร้อนก่อน
(     ) มี
(     ) มี
(     ) มี
(     ) มี
(     ) มี
(     ) มี
(     ) มี
(     ) มี
10
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
(     ) ไม่มี
0
รวมคะแนนทั้งหมด

                                                     
แผนการการควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ

ลำดับ

กระบวนการหลัก

แนวทางปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ
เอกสาร อ้างอิง
1
ก่อนการระบาด




1.1
1. ตั้งทีมควบคุมโรคในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
1. ตั้งทีมควบคุมโรคในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน
เดือน ก.พ.
SRRT
ทะเบียนทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน
1.2
2. อบรมให้ความรู้  ทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค

- ประชุม อสม. และทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน  ให้ความรู้  เกี่ยวกับการควบคุมโรคในหมู่บ้าน
- ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในหมู่บ้าน
- การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยการใช้เครือข่าย อสม./ทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน โดยการให้ความรู้แก่ อสม./ ทีมควบคุมโรค ในการค้นหาผู้ป่วย  โดยเมื่อพบผู้ที่มีอาการสงสัยให้นำส่งมาพบ จนท รพสต.และแจ้งข่าวรายงานเหตุการณ์ผิดปกติด้วย

เดือน ก.พ.





ฤดูกาลระบาด
SRRT





อสม.และทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน
บันทึกการประชุม




ทะเบียนรายงานเหตุเหตุการณ์ผิดปกติของ รพสต.
1.3
สำรวจแหล่งที่มี
น้ำขังในหมู่บ้าน

สำรวจแหล่งที่มีน้ำขังในหมู่บ้าน  ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง สระน้ำ ห้วย หนองบึง ลงในแผนที่แต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ดังนี้ คือ
- เป็นข้อมูลประกอบการสอบสวนโรค  ในการค้นหาแหล่งโรคประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคให้ประชาชนทราบ
- เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคในหมู่บ้านได้ง่ายยิ่งขึ้น
เดือน เม.ย.
SRRT
แฟ้มอนามัยชุมชน

ลำดับ

กระบวนการหลัก

แนวทางปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ
เอกสาร
อ้างอิง
2
เมื่อมีการระบาด




2.1
ลงทะเบียนรับแจ้งโรค
ลงทะเบียนรับแจ้งโรค เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรค
เมื่อพบผู้ป่วย
SRRT
ทะเบียนรับแจ้งโรค
2.2
สอบสวนโรคในพื้นที่
- เมื่อได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยจากกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ให้ดำเนินการสอบสวนโรคทันที  ตามแบบสอบสวนโรคเฉพาะราย
เมื่อพบผู้ป่วย
SRRT
แบบสอบสวนโรค
2.3
ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
- แจ้ง อสม. และทีมควบคุมโรคในหมู่บ้านเพื่อวางแผนการควบคุมโรคและแจ้งให้ประชาชนทราบทางหอกระจายข่าว  การเดินบอก  และแจกเอกสารให้คววามรู้
เมื่อพบผู้ป่วย
SRRT
บันทึกการประชุม
2.4
ประชาคมในหมู่บ้าน
3. ประชุมให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน  เรื่อง
- สาเหตุของโรค
- การติดต่อหรือการถ่ายทอดโรค
- แหล่งรังโรค  หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อโรค
- อาการที่สำคัญของโรค  โดยเน้นให้ผู้ป่วยที่มีอาการไข้  หรือสงสัยให้รีบมารับการรักษาทันที
- การป้องกันโรค  โดยอธิบายวิธีการป้องกันและควบคุมโรคในระดับบุคคล บ้าน และหมู่บ้าน
เมื่อพบผู้ป่วย
SRRT
เอกสารให้ความรู้




ลำดับ

กระบวนการหลัก

แนวทางปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ
เอกสาร
อ้างอิง
2.5
ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้าน
การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน
- ค้นหาผู้ที่มีอาการไข้  ร่วมกับมีประวัติสัมผัสพื้นที่เสี่ยงต่อโรค  ด้วยยาปฏิชีวนะครบชุดทันที
ดังนี้  คือ
     Doxycycline  วันละ 2  ครั้ง ๆ ละ 100 mg  นาน  7  วัน
  หรือ Amoxycyclin 500 mg ทุก 6 ชั่วโมง  นาน 5-7 วัน
     ร่วมกับการให้ยาตามอาการ  เช่น ยาลดไข้  Paracetamol   ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการเกิน 48 ชั่วโมง  ให้เจ้าหน้าที่รีบส่งผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที
   โดยเจ้าหน้าที่ต้องลงไปติดตามทุก  2  วัน   เพื่อติดตามอาการไข้
- ถ้าพบว่าอาการไมดีขึ้นให้ส่งต่อโรงพยาบาล
เมื่อพบผู้ป่วย 30 วันหลังจากพบผู้ป่วย
SRRT
อสม.
ทะเบียนรับแจ้งโรค
2.6
ค้นหาพื้นที่เสี่ยง แหล่งรังโรค
- สอบสวนค้นหาแหล่งรังโรคที่น่าสงสัย  และลงไปดูและตรวจสอบพื้นที่จริงเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของแหล่งรังโรค  ถ้าสงสัยให้ติดป้ายประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยโรคไข้ฉี่หนู




เมื่อพบผู้ป่วย 30 วันหลังจากพบผู้ป่วย
SRRT
ป้ายประกาศ



ลำดับ

กระบวนการหลัก

แนวทางปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ
เอกสาร
อ้างอิง
3.
เฝ้าระวังโรค
- เฝ้าระวังโรคและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 30 วัน  นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรก
- สร้างเครือข่ายการรายงานโรคในหมู่บ้านโดยทีมควบคุมโรคในหมู่บ้าน
- วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์โรค  โดยการทำ Epidemic curve เป็นรายหมู่บ้าน และทำแผนที่แบบจุด (Sport map)

เมื่อพบผู้ป่วย
 30 วัน
หลังจากพบผู้ป่วยรายแรก
SRRT
Epidemic curve และแผนที่แบบจุด (Sport map)


4.

รายงานการสอบสวนโรคเฉพาะราย




รายงานการสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์

-ทำรายงานสรุปผลการสอบสวนโรคตามแบบสอบสวนโรคเฉพาะราย(จากแบบสอบสวนในคู่มือนิยามโรคติดเชื้อ สำนักระบาด)  เพื่อรายงานผลการสอบสวนโรคให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เก็บไว้ 1 ชุด ส่งงานระบาด สสอ 1ชุด
-ทำรายงานสรุปผลการสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์ กรณีผู้ป่วยเสียชีวิต  เพื่อรายงานผลการสอบสวนโรคให้ผู้บังคับบัญชาทราบ  เก็บไว้ 1 ชุด ส่งงานระบาด สสอ 1ชุด สสอ.ส่งงานระบาด สสจ. 1 ชุด



 7 วันหลังจากพบผู้ป่วย




30 วัน  หลังพบผู้ป่วย

SRRT






SRRT


รายงานสอบสวนโรค




รายงานสอบสวนโรค



หนังสืออ้างอิง

กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซิส, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, พิมพ์ครั้งที่ 5, 2548

สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา,  แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ  สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลและอำเภอ, นครราชสีมา :โรงพิมพ์โฟกัสการพิมพ์,  2546