ระเบียบวาระการประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
วันที่ 4 เดือนมกราคม 2562 เวลา 13.00 น.
.....................................................
๔. กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
๔.๑
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
ประเทศไทย
ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 80,065 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 122.37 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต
จำนวน 107 ราย คิดเป็น อัตราตาย 0.16 ต่อแสนประชากร
อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 0.92 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดเรียงตามลำดับ
คือ 15-24 ปี (25.53 %), 10-14 ปี
(20.83 %) และ 25-34 ปี (13.65 %) อาชีพส่วนใหญ่ นักเรียนร้อยละ 48.4, รับจ้างร้อยละ
19.1, ในปกครองร้อยละ 17.1 และเกษตรกรร้อยละ
6.0 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรกคือ นครปฐม (321.71ต่อแสนประชากร),
นครสวรรค์ (258.31 ต่อแสนประชากร), นครศรีธรรมราช (245.96 ต่อแสนประชากร), นครนายก (232.23 ต่อแสนประชากร) และเชียงราย (230.04 ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 2,038 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 141.43 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต
1 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.04 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ 10 - 14 ปี (623.18
ต่อแสนประชากร), 5 - 9 ปี (595.2 ต่อแสนประชากร), 0 - 4 ปี (203.37 ต่อแสนประชากร),15 - 24 ปี (193.02 ต่อแสนประชากร) และ 25 - 34 ปี
(53.96 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ
นักเรียน จำนวน 1,310 ราย, เกษตรกรจำนวน
296 ราย และในปกครองจำนวน 277 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับแรก คือ ขุขันธ์(275.55 ต่อแสนประชากร),ศรีรัตนะ (270.47 ต่อแสนประชากร), ขุนหาญ (220.11 ต่อแสนประชากร), กันทรลักษ์ (185.9 ต่อแสนประชากร) และวังหิน (185.22 ต่อแสนประชากร)
แนวทางการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอำเภอขุขันธ์
ปี 2562
ทีมประเมินดัชนีความชุกลูกน้ำอำเภอขุขันธ์
แบ่งออกเป็น 28
ทีม ดังนี้
รพ.สต.ละ
1 ทีมๆ ละ 5 คน
สุ่ม 30 หลัง
โดยสุ่มไขว้กับ รพ.สต.อื่น
รอบละ 1 แห่งๆ ละ 2 หมู่บ้าน ออกปฏิบัติงาน 8 ครั้ง ดังนี้
รอบที่ 1 วันที่ 21
มกราคม 2562
รอบที่ 2 วันที่ ... กุมภาพันธ์ 2562
รอบที่ 3 วันที่ ... มีนาคม 2562
รอบที่ 4 วันที่ ... เมษายน 2562
รอบที่ 5 วันที่ ... พฤษภาคม 2562
รอบที่ 6 วันที่ ... มิถุนายน 2562
รอบที่ 7 วันที่ ... กรกฎาคม 2562
รอบที่ 8 วันที่ ... สิงหาคม 2562
หมายเหตุ
: ค่าตอบแทนทีมออกประเมินจะโอนให้ รพ.สต.ไปบริหารจัดการเอง
เกณฑ์การประเมิน
1. หมู่บ้านที่มีค่า HI<10 จะได้รับใบประกาศโดยมอบ ณ
ที่ประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
2. สรุปผลการประเมินดัชนีความชุกลูกน้ำภาพรวมทั้งปี (จำนวน 8 ครั้ง)
ถ้า รพ.สต.ใดมีค่า HI<25
จะนำมาจัดเรียงลำดับค่า HI
จากน้อยไปหามาก 3 อันดับแรก
และมอบรางวัลดังนี้
อันดับที่ 1 ได้รับรางวัลเงินสด 1,500
บาท
อันดับที่ 2 ได้รับรางวัลเงินสด 1,000
บาท
อันดับที่ 3 ได้รับรางวัลเงินสด 500 บาท
โดยมีที่มาของรางวัลดังนี้ รพ.สต.ที่มีค่า HI สูงที่สุด 4 อันดับสุดท้าย ต้องจัดหาเงินรางวัล
มาจ่ายให้ รพ.สต.ที่ได้รับรางวัล ดังนี้...
รพ.สต.ที่มีค่า HI
สูงอันดับที่ 25 จ่าย 500 บาท,
อันดับ 26 จ่าย 1,000 บาท, อันดับ 27 จ่าย 1,500
บาท และอันดับ 28 เป็นเจ้าภาพ
จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโรคไข้เลือดออกอำเภอขุขันธ์
ในเดือนกันยายน 2562)
3. รพ.สต.ใด ที่มีผู้ป่วยระลอก 2 ในหมู่บ้านเดิม
จะถูกปรับเป็นอันดับสุดท้ายโดยอัตโนมัติ
(ถ้ามีมากกว่า 1 รพ.สต. ให้ดูผลรวมค่า HI ตลอดทั้งปี)
การประเมินผลการปฏิบัติงานรอบ
6
เดือน และรอบ 12 เดือน มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ตามเกณฑ์ Ranking ร้อยละ
70
2.การประเมินสมรรถนะ ร้อยละ 30 สมรรถนะงานควบคุมโรค(ส่วนรับผิดชอบนายฤทธาธร
ดอกพอง)ดังนี้
การประเมินมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
1. งานไข้เลือดออก เกณฑ์การประเมินค่า
HI
โดยนำผลการสุ่มประเมินไขว้ของทีม รพ.สต.
2.
งานระบาดวิทยา เกณฑ์การส่งรายงาน 506 (ส่งไฟล์
ep2main.dbf)
ส่งสัปดาห์ละ 2 รอบ
ส่งเข้าไลน์ ฤทธาธร ดอกพอง
รอบที่
1 ส่งทุกวันจันทร์ โดยส่งข้อมูลนับย้อนหลังจากวันพฤหัสบดี – วันอาทิตย์ ที่ผ่านมา
รอบที่ 2 ส่งทุกวันพฤหัสบดี โดยส่งข้อมูลนับย้อนหลังจากวันจันทร์ – วันพุธ ที่ผ่านมา
ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน
1. โรคไข้เลือดออก
เกณฑ์การประเมินต้องไม่มีผู้ป่วยระลอกที่ 2
2.2 งานระบาดวิทยา
เกณฑ์การประเมิน มีการจัดทำรายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้นทุกรายพร้อมภาพกิจกรรมการควบคุมโรค
๔.๒
โรคเลปโตสไปโรซิส
ประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่
1 ม.ค. – 8 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 2,678 ราย จาก
70 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 4.09 ต่อแสนประชากร
เสียชีวิต 27 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อแสนประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.22 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดเรียงตามลำดับ
คือ 45-54 ปี (21.96 %) และ
35-44 ปี (18.15 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ เกษตรกรร้อยละ
47.9, รับจ้างร้อยละ 21.1 และนักเรียนร้อยละ
10.9 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือศรีสะเกษ (25.36 ต่อแสนประชากร),
พังงา (22.46 ต่อ แสนประชากร), ยโสธร (16.29 ต่อแสนประชากร), ยะลา
(15.34 ต่อแสนประชากร) และตรัง (14.54 ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่
1 ม.ค. 2561 - 15 พ.ย. 61 พบผู้ป่วย 365 ราย คิดเป็นอัตราป่วย
25.33 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 7 ราย เพศชายป่วยมากกว่าเพศหญิง 4.07 เท่า กลุ่มเสี่ยงคือเกษตรกร
วัยแรงงาน อายุระหว่าง 55 - 64 ปี (51.61 ต่อแสนประชากร)และ 45 - 54 ปี
(39.42 ต่อแสนประชากร) อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด
5 อันดับแรกคือภูสิงห์ (74.73 ต่อแสนประชากร),
ขุขันธ์ (51.54 ต่อแสนประชากร), ขุนหาญ (51.33 ต่อแสนประชากร),น้ำเกลี้ยง
(45.69 ต่อแสนประชากร) และห้วยทับทัน
(37.59 ต่อแสนประชากร)หากเกษตรกรป่วยมีอาการอย่างน้อย
2 อาการ ต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อปวดกระบอกตา ปวดน่อง มีประวัติลงน้ำ
ลุยน้ำ ต้องรีบไปเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลทันที
๔.๓
โรคมือเท้าปาก
ประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่
1 ม.ค. – 10 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วยจำนวน 66,216 ราย
จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 101.21 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง
1 : 0.80 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ 1 ปี (25.94 %), 2 ปี(23.58 %) และ
3 ปี (18.92 %) อาชีพส่วนใหญ่ คือ ในปกครองร้อยละ
86.3, นักเรียนร้อยละ 12.2 และอื่นๆ ร้อยละ
0.8 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ แรก คือ จันทบุรี (298.00 ต่อแสนประชากร),
พะเยา (179.30 ต่อแสนประชากร), เชียงใหม่ (176.43 ต่อแสนประชากร),กรุงเทพมหานคร (171.57 ต่อแสนประชากร) และเชียงราย (167.52 ต่อแสนประชากร)จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 2561 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 744 ราย คิดเป็นอัตราป่วย
51.63 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง
เท่ากับ 1.25 : 1 กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ
0 - 4 ปี (860.5 ต่อแสนประชากร), 5 - 9
ปี (54.72 ต่อแสนประชากร), 10 - 14 ปี (8.78 ต่อแสนประชากร), 15 - 24 ปี(3.71 ต่อแสนประชากร) และ
55 - 64 ปี (1.31 ต่อแสนประชากร) อาชีพที่ป่วยมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ ในปกครอง จำนวน 692 ราย, นักเรียนจำนวน 46 ราย,
เกษตรกร จำนวน 4 ราย และค้าขายจำนวน 1 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก
คือ ยางชุมน้อย (143.71 ต่อแสนประชากร), ภูสิงห์ (101.71 ต่อแสนประชากร), เมือง (95.61 ต่อแสนประชากร), บึงบูรพ์(83.04
ต่อแสนประชากร) และขุนหาญ (78.96 ต่อแสนประชากร)
๔.๔
งานระบาดวิทยา
นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 17 ธันวาคม 2561 โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก ได้แก่
อุจจาระร่วง โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ ปอดบวม ตาแดง อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก
STD (Sexual Transmitted Disease อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ และวัณโรค ตามลำดับการส่งรายงาน
506 ในเดือน ธันวาคม 2561
2) ข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
ผู้ป่วยที่ต้องทำการสอบสวนโรค
ตามหลักเกณฑ์ของสำนักระบาด ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อโปรแกรม R506 จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน
2561 – 15 พฤศจิกายน2561 มีผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรคจำนวนทั้งสิ้น
9 ราย ใน 7 อำเภอ มี 3 โรค
4 รหัสโรคในระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ รง. 506 ที่ต้องสอบสวนโรคมากที่สุดคือ
ไข้เลือดออก เท่ากับจำนวน 4 รายจำแนกเป็น DF จำนวน 2 ราย และ DHF จำนวน
2 ราย รองลงมาคือโรคมือเท้าปาก จำนวน 3 รายโรคเลปโตสไปโรซิส
จำนวน 2 ราย ดังนั้นขอให้ SRRT แต่ละอำเภอร่วมกับพื้นที่ในการดำเนินการควบคุมโรคพร้อมทั้งดำเนินการสอบสวนโรคและเขียนรายงานสอบสวนโรค
ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยแนบไฟล์เข้าในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลระบาดวิทยา
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ttp://203.157.165.115/r506/investigation.php หัวข้อ ส่งรายงานสอบสวนโรค เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ร่วมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานและให้คะแนนตามเกณฑ์แร้งกิ้งต่อไป
(เอกสารรายชื่อผู้ป่วยต้องสอบสวนโรค ส่งไปที่อีเมล์เครือข่าย
SRRT ระดับอำเภอทุกอำเภอ)__