"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

Time Line การปฏิบัติงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคโควิด19 อำเภอขุขันธ์

สรุปผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOCกรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
              สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอำเภอขุขันธ์ ณ วันที่ 24 เมษายน 2563 ไม่มีผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้งหมด 4 ราย(PUI) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อโควิดทั้ง 4 ราย โรงพยาบาลขุขันธ์จึงให้กลับบ้านทั้ง 4 ราย ด้านการกักกันเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน ที่บ้านในกลุ่มประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายและประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง 48 ราย พ้นระยะกักกันทั้งหมดแล้ว และกลุ่มผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ 3,718 ราย ครบระยะสังเกตอาการ 14 วัน 3,107 ราย(ร้อยละ 83.56 ) ยังต้องสังเกตอาการที่บ้าน 611 ราย(ร้อยละ 16.44)



การดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอำเภอขุขันธ์

มีนาคม 2563  เวลา 09.00 น. อำเภอขุขันธ์ประชุมมอบนโยบายและแนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ณ หอประชุมอำเภอขุขันธ์ โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ทุกหน่วยงาน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกตำบล 

23 มีนาคม 2563  เวลา 09.00 น. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC) กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ โดยสรุปดังนี้

1. สถานการณ์และแนวทางการควบคุมโรคโรคโควิด 19

2. การแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC) และคณะกรรมการคัดกรอง แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกตป้องกันและควบคุมโรค 

3. แนวทางการแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้กักกันเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน ที่บ้านในกลุ่มประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายและประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ความร่วมมือในการกักกัน

4. การสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชน และการจัดทำหน้ากากอนามัยให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล


24-26มีนาคม 2563 อำเภอขุขันธ์ ดำเนินการดังนี้
การปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรคระดับอำเภอและหมู่บ้าน
1. จัดตั้งทีมอาสาโควิด 19 ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อดำเนินการค้นหาและเฝ้าระวังโรค
2. จัดทำฐานข้อมูลของผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มาภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อเฝ้าระวังตามสังเกตอาการเป็นระยะ 14 วัน
3. สื่อสารความเสี่ยง ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อแยกตัวสังเกตอาการไข้และอาการทางเดินหายทุกวัน และหลีกเลี่ยงการไกล้ชิดกับผู้อื่นในที่พำนัก หรือที่พักอาศัยจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา
4. แจ้งผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
- ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ ช้อนส้อม
- ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่ นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70 % ลูบมือจนแห้ง
- หลีกเลี่ยงการพูด ไกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง
- หารมีไข้และอาการทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยทันที

การปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
1. มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
2. มาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในหมู่บ้าน/ชุมชน
3. การป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน
4. การจัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลที่มาถึงภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 และให้ถือปฏิบัติตามหนังสือคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
          ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
1. ระดับตำบล ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการปฏิบัติงาน ให้กำนัน ตำรวจ และ อปท. ร่วมดำเนินการ
2. ระดับหมู่บ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลากลางหมู่บ้าน ประกอบด้วยข้อมูลสถานการณ์โรค ข้อมูลกลุ่มเฝ้าระวัง 14 วัน ในหมู่บ้าน สร้างความเข้าใจคนที่กลับมาบ้านว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร มาจากประเทศที่เสี่ยงติดโรค มาจากกรุงเทพฯและปริมณฑล ตลอดจนการกำกับดูแลเรื่องสุขภาพความเป็นอยู่
3. รวบรวมข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ลงในเวปไซต์ ทุกวัน เพื่อความรวดเร็วและการเข้าถึงข้อมูล
4. ใบรับรองการแยกกัก คุมไว้สังเกต ครบ 14 วัน ให้ลงนามโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตรวจยืนยันข้อมูลกับศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดศรีสะเกษ และให้นายอำเภอเป็นผู้ควบคุมกำกับ
มาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม
1. จัดหาสถานที่รองรับผู้ป่วย โรงพยาบาลสนาม
2. สำรวจข้อมูลพนักงานและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่จังหวัดปิดสถานที่ชั่วคราว
3. มหาเถรสมาคมแจ้งการจัดกิจกรรมต่างๆของวัด ให้วัดงดหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
5. ปิดตลาดนัดชุมชน ทุกพื้นที่ ทุกหมู่บ้าน
6. ให้มีมาตรการป้องกันโรคในร้านสะดวกซื้อ หากไม่ปฏิบัติให้ระบุโทษตามกฎหมาย
7. สถานประกอบการต่างๆ ที่มีการรวมตัวกันหนาแน่น ให้ปิดทุกแห่ง
8. ปิดสถานที่ชั่วคราว ห้างสรรพสินค้า เว้นแต่ซุปเปอร์มาร์เก๊ต ร้านขายยา หรือร้านสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านอาหาร(ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น)
9. ปิดสระว่ายน้ำ สวนน้ำ หรือกิจกรรมอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
10. ปิดศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา

27 มีนาคม 2563  เวลา 09.00 น. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC) กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ 
             - ชี้แจงบทบาทหน้าที่ ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรรมการคัดกรอง แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกตป้องกันและควบคุมโรค โดยมีผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander)  ประกอบด้วย
                1. นายอำเภอขุขันธ์        ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๑
                2. ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๒    
                3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุขันธ์    ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๓    
                4. สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์    ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนที่ ๔
             - การเดินทางกลับบ้านของประชาชน จากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การกักกันอยู่ที่บ้าน 14 วัน
                - การจัดหาสิ่งสนับสนุนการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-๒๐๑๙ ให้ อปท.ทุกแห่งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้รวดเร็ว และเพียงพอ โดยเผื่อเวลาไว้ให้นานที่สุด
              - การจัดตั้งจุดตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามเขต ที่จุดสี่แยกนาเจริญ มี เจ้าหน้าที่จากฝ่ายปกครอง  เจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก สภ.ขุขันธ์ ปรือใหญ่ จะกง และจาก สภ.ขุนหาญซึ่งอาจมาร่วมด้วย  การดูแลเรื่องอาหาร อาหารว่างและเครื่องดืม  ขณะนี้เป็นหน้าที่ของ อบต โสน 
 - การส่งมอบเครื่องตรวจวัดไข้อินฟาเรต ๒ เครื่อง เจลล้างมือ และหน้ากากผ้า ให้กับ รพ.สต.ทุกแห่ง
             - การจัดเตรียมโรงพยาบาลสนามอำเภอขุขันธ์ กรณีมีผู้ป่วย ล้นจากรพ.ศรีสะเกษ
             - การออกตรวจสถานบริการ ตลาดสด ตลาดโต้รุ่ง เซเว่นอีเลเว่น

2 เมษายน 2563  เวลา 14.00 น. ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC)  ณ ศูนย์ EOC อาคารส่งเสริมสุขภาพชั้น 1 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์
          - สถานการณ์โรคโควิด 19 และแนวทางการแก้ปัญหาผู้กักกัน ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 
             - การเตรียมโรงพยาบาลสนาม การคัดเลือกสถานที่ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม


7 เมษายน 2563  เวลา 09.00 น. ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน(Emergency Operation Center : EOC)  ณ ศูนย์ EOC อาคารส่งเสริมสุขภาพชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์


         - ต้อนรับท่านนายอำเภอ นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ประธานแจ้ง สถานการณ์โรคโควิด 19 และแนวทางการแก้ปัญหาผู้กักกัน ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 



8 เมษายน 2563  เวลา 17.00 น. คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับอำเภอออกตรวจแนะนำการป้องกันโรคโควิด ตรวจสถานบริการ ตลาดสด ตลาดโต้รุ่ง เซเว่นอีเลเว่น


9-26 เมษายน 2563  
        ทีมปฏิบัติงานในระดับอำเภอ ดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. การตั้งด่านตรวจรักษาความสงบเรียบร้อย ตาม...
    “พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘” 
2. การออกตรวจแนะนำตลาดสด ร้านโต้รุ่ง ร้านอาหาร ร้านเซเว่นอีเลเว่น 
    ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย 
3. การออกติดตามควบคุม...ผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรการกักกัน 14 วัน 
      3.1 กลุ่มประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่ออันตราย(9+2) และประเทศอื่นๆ
      3.2 ผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ
4. มาตรการอื่นๆ

        ทีมปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ออกดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
    1.1 การสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ในฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลที่มาถึงภูมิลำเนา 
    1.2 การออกติดตามเยี่ยมผู้ถูกกักกัน 14 วัน ในพื้นที่
2. มาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในหมู่บ้าน/ชุมชน
    2.1 การเฝ้าระวังในงานศพ ตรวจวัดอุณภูมิ เจลล้างมือ อ่างล้างมือ ใส่แมส Social Distancing 
    2.2 การเฝ้าระวังในร้านค้าชุมชน อ่างล้างมือ เจลล้างมือ ใส่แมส Social Distancing 
    2.3 การเฝ้าระวังในศาลากลางหมู่บ้าน วัด โรงเรียน อ่างล้างมือ เจลล้างมือ ใส่แมส Social Distancing 
3. การป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน
    3.1 อสม.ออกแนะนำ ตรวจเยี่ยม กลุ่มผู้สูงอายุ

30 เมษายน 2563  เวลา 15.30 น. ประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินผ่านระบบวีดีโอทางไกล(VCS) ณ ห้องประชุมราชสีห์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม อำเภอขุขันธ์โดยนายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ได้เชิญผู้เข้าประชุมประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงาน ผู้บริหารท้องถิ่น ท้องที่ ทุกหน่วยงาน เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังการถ่ายทอดผ่านระบบ DOPA Chanal ณ ศาลาประชาคมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
       วันที่ 30 เมษายน 2563 เวลา 15.30 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ พร้อมด้วย  หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันทุกตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เข้าร่วมรับฟังประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล VCS โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการประชุม ณ ศาลาประชาคมอำเภอขุขันธ์ 
         สรุปประเด็นในการประชุม มี ดังนี้                                                                      
(1 ) มติครม. เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 โดยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 จะมีวันหยุดหลายวัน ทำให้มีการลาหยุดงานต่อเนื่องกันหลายวันในช่วง 1- 11 พฤษภาคม 2563 มีการเดินทางข้ามจังหวัดและการรวมตัวกันของประชาชนเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว ครม.มีมติ สรุปดังนี้
   -ให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ และทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมกันรณรงค์ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อย่างต่อเนื่องต่อไป
    -ขอความร่วมมือประชาชนในการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”และงดการเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น
(2)เรื่อง ชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
  นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้มีประกาศ ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 3 ฉบับ
   2.1 ประกาศ  เรื่อง การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1)
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
  2.2 ประกาศ  เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
   2.3 ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
(3) แนวทางดำเนินการตามมาตรการผ่อนปรน ประเภทกิจการและกิจกรรม เริ่ม 3 พฤษภาคม 2563 นี้
    1. ตลาด : ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย
  2. ร้านจำหน่ายอาหาร : ร้านอาหารทั่วไป (นอกห้าง)  ร้านอาหารริมทาง รถเข็น หาบเร่
  3. กิจการค้าปลีก ส่ง : ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกขนาดย่อม ร้านค้าชุมชน
  4 กีฬา สันทนาการ : กิจกรรมในสวนสาธารณะ  (โดยไม่ให้เล่นเป็นทีมและไม่มีการแข่งขัน)
  5. ร้านตัดผม เสริมสวย : เฉพาะ ตัด สระ ไดร์ผม

  6. อื่นๆ : ร้านตัดขนสัตว์ ร้านรับเลี้ยง รับฝากสัตว์

วันที่ 1 - 13 พฤษภาคม 2563 นายสุริยา  บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ได้มอบหมายให้ มว.ท.พันธ์ทิพย์  แสงแก้ว จ่ากองร้อย อส. (จนท.ปค.ฝ่ายความมั่นคง) พร้อมด้วยสมาชิก อส. ในสังกัดกองร้อย อส. อ. ขุขันธ์ ที่ 5 ได้บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ขุขันธ์  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์  รวม 10  นาย.  ได้ร่วมกันปฎิบัติหน้าที่ ตั้งจุดตรวจ จุดคัดกรอง ฯ ณ บริเวณตู้ยามรัตนากรวิสุทธิ์ ในเขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์  
ผลการปฎิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ประธานในการประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอ (ก.บ.อ.) ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น และกำนัน ครั้งที่ 4/2563 และประชุมคณะกรรมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (EOC) 

       เพื่อแจ้งข้อราชการต่างๆ รวมถึงแนวทางมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ ได้มอบหมายให้นายสุวรรณ เนตรเนติกุล ปลัดอําเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองอำเภอขุขันธ์ รับมอบเจลแอลกอฮอล์ จากบจก.เอี่ยมศิริแป้งมัน และบจก.เอี่ยมอุบล เพื่อแจกจ่ายให้เจ้าหน้าที่ บุคลากร ในสังกัดหน่วยงานต่างๆในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ อำเภอขุขันธ์ จำนวน 1,449.52 ลิตร
       โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้แทนส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมรับมอบเจลแอลกอฮอล์ ณ ที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
 วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 น. นายสุริยา บุตรจินดา นายอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ นายสุวรรณ เนตรเนติกุล ปลัดอําเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองอำเภอขุขันธ์  รับมอบน้ำดื่ม อาหารแห้ง จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสิ่งของใส่ ตู้ปันน้ำใจ เพื่อช่วยเหลือคนไทย ฝ่าวิกฤตโควิด -19 
       " หยิบฟรี หยิบไปแต่พอดี ถ้ามีช่วยแบ่งปัน"
       ชาวอำเภอขุขันธ์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันอาหารช่วยเหลือคนไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19  สามารถแจ้งความประสงค์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปัน ได้ที่ ตู้ปันน้ำใจ หน้าที่ว่าการอำเภอขุขันธ์
วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.00 น. เทศบาลเมืองห้วยเหนือ โดย ผอ.กองสาธารณสุขฯ จนท.กองสาธารณสุขฯ และทีมพัฒนาออกติดตั้งอ่างล่างมือตลาดสดเทศบาล2และตลาดโต้รุ่ง