งานในหน้าที่รับผิดชอบของนายธรรมรัฐ เตียนสิงห์

 วาระการประชุม ปีงบฯ2568

# เดือนตุลาคม 2567# เดือนกุมภาพันธ์ 2568# เดือนมิถุนายน 2568
# เดือนพฤศจิกายน 2567# เดือนมีนาคม 2568​​​# เดือนกรกฎาคม 2568
# เดือนธันวาคม 2567# เดือนเมษายน 2568# เดือนสิงหาคม 2568
# เดือนมกราคม 2568# เดือนพฤษภาคม 2568# เดือนกันยายน 2568

 มาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ(SRRT) ระดับอำเภอ คลิก

 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเลปโตสไปโรสีส สำหรับ รพ.สต. ที่ได้รับการปรับปรุงให้ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา อาจารย์ ดร.พญ.นิธิกุล เต็มเอี่ยม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

 สรุปแนวทางการฉีดเซรุ่ม หรือ การให้อิมมูโนโกลบุลิน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Immune globulin: RIG) แก่ผู้สัมผัสโรค
        1. การสัมผัสโรคแบบระดับ 3 (WHO category III) ในผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนทุกราย จำเป็นต้องรับวัคซีน ร่วมกับการฉีดเซรุ่ม Rabies Immune globulin เข้าที่บาดแผลทุกแผล
        2. การสัมผัสโรคระดับ 3 หมายถึง ผู้ที่มีการถูกสัตว์กัด ที่มีบาดแผลมีเลือดออก บาดแผลฉีกขาด หรือเป็นรอยเขี้ยวลึก หรือมีการสัมผัสน้ำลาย กับถูกเยื่อบุของตา ปาก จมูก
รวมทั้งผู้ที่มีการกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรค หรือมีการชำแหละซากสัตว์ เลาะหนังสัตว์ ที่สงสัยว่าเป็นโรค
        3. ในกรณีที่ไม่สามารถให้ RIG ในวันแรกได้ สามารถให้ในวันต่อมาได้ แต่ไม่ควรให้หลังจากผู้ป่วยได้รับวัคซีนเกิน 7 วันมาแล้ว
        4. การทำ Intradermal skin test ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
        5. ในกรณี ผู้ที่เคยได้รับเซรุ่มม้า เช่น เคยถูกงูกัดมาก่อน จะไม่สามารถให้เซรุ่มม้าครั้งที่ 2 ได้ จำเป็นจะต้องให้เซรุ่มจากมนุษย์ HRIG แทน
        6. ถ้า RIG ไม่พอฉีดทุกแผล ให้ละลายด้วย Normal Saline 2-3 เท่า 
        7. RIG ฉีดบริเวณในและรอบบาดแผลอย่างทั่วถึงเท่านั้น ถ้าเหลือไม่ต้องฉีดเข้าสะโพก
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=8SHsjDEpsEo