1 .งานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขุขันธ์ ผู้ป่วย 47 ราย (ตุลาคม 65 – 28 กพ 66) มี ผป.เกิดในเดือนกุมภาพันธ์ รับรายงาน 5 ราย เกิดในพื้นที่ดังนี้
- ตำบลหัวเสือ 1 ราย บ้านสวงษ์ ที่อยู่ 25 หมู่ 12
- ตำบลศรีตระกูล 2 ราย บ้านละเบิก ที่อยู่ 57 หมู่ 4 บ้านหลังเดียวกัน
- ตำบลดองกำเม็ด 1 ราย บ้านตราด ที่อยู่ 93 หมู่ 7
- ตำบลห้วยเหนือ 1 ราย บ้านบก ที่อยู่ 151/1 หมู่ 13
- ข้อสั่งการ ให้พื้นที่สอบสวนโรค รายงานควบคุมพื้นที่ตามมาตรการ
ข้อเสนอแนะ/มาตรการป้องกันโรค
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน ควรให้สุขศึกษาในการป้องกันการเกิดโรคในโรงเรียนและชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันการเกิดโรค และเน้นการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคในพื้นที่ระบาด
2. กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ เน้นการดำเนินงานตามมาตรการ 3-3-1
สถานพยาบาล แจ้งรพ.สต.หรือสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่รับทราบว่าในพื้นที่มีผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ภายใน 3 ชั่วโมง ภายหลังผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย
หน่วยงานควบคุมโรคดำเนินการควบคุมยุงพาหะ ทั้งการฉีดพ่นสารเคมี(สเปรย์กระป๋อง)และกำจัดแหล่งน้ำขังภายในบ้านผู้ป่วย ภายใน 3 ชั่วโมง หลังได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยในชุมชน ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยภายใน 1 วัน
และในวันที่ 3 หลังพบผู้ป่วย ทั้งการฉีดพ่นสารเคมีและกำจัดแหล่งน้ำขัง หน่วยงานท้องถิ่นพ่นสารเคมีกำจัดยุงและอสม.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย ภายใน 1 วัน หลังได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยในชุมชน
3. รพ.สต.เข้มข้นในการควบคุมป้องกันโรคโดยหลักการ 3 เก็บ (บ้าน น้ำ ขยะ)
4. จัดกิจกรรมประชาคมในหมู่บ้านหาแนวทางในการป้องกันควบคุมโรคร่วมกัน และรณรงค์กำจัดแหล่งน้ำขัง ขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบๆบ้าน พืชอุ้มน้ำ และกอไผ่
5. ควรประเมินความเสี่ยงทุกครั้งหลังการดำเนินงาน โดยวัดค่า HI CI เพื่อประเมินความเสี่ยง
6. ให้คำแนะนำในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมียุงและคนที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ (ประมาณ 90%) ให้แนะนำการป้องกันยุงลายกัด ยาทากันยุง 14 วัน ,ไม้ช๊อตยุง , นอนในมุ้ง, ติดตั้งมุ้งลวดบ้านชั้นล่าง เป็นต้น
2. งานควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ขุขันธ์ ผู้ป่วย 81 ราย (ตุลาคม 65 – 28 กพ 2566) มีข้อมูลพื้นที่เกิดโรคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 5 ราย ดังนี้
- ตำบลตาอุด 2 ราย ตำบลศรีตระกูล 1 ราย ตำบลนิคมพัฒนา 2 ราย
- ข้อสั่งการ ให้พื้นที่สอบสวนโรค รายงาน ควบคุมพื้นที่ตามมาตรการ
3. การเร่งรัดการฉีดวัควีนโควิด -19 ในช่วงรณงค์ 15 พย.2565 ถึง 15 มีนาคม 2566
ข้อสั่งการ
1. ให้ทำแผนฉีดวัคซีนทุกแห่ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่ม 607 และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
3. มีการติดตามดำเนินงานตามแผน
4. บันทึกรายงานใน MOPH IC และรายงานผู้บังคับบัญชาทุกวันที่มีการฉีด
5. การประเมินผลงาน ครอบคลุมเป้าหมายแยกกลุ่มตามเกณฑ์ RK พิจารณาจากผลงานฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ตามเกณฑ์
4. การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
4. บันทึกรายงานใน MOPH IC และรายงานผู้บังคับบัญชาทุกวันที่มีการฉีด
5. การประเมินผลงาน ครอบคลุมเป้าหมายแยกกลุ่มตามเกณฑ์ RK พิจารณาจากผลงานฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ตามเกณฑ์
4. การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
4.1 จากกรณีสุนัขข่วนผู้ป่วยที่บ้านโสน หมู่ที่ 1 ได้ดำเนินการติดตามสอบสวนโรคและดำเนินการตามการแล้ว จากผลการตัดหัวสุนัขส่งตรวจ ผลการตรวจปกติ จำนวนผู้สัมผัสโรค 12 ราย ให้ติดตามการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ครบทุกคน (รพสต.อาวอย)
4.2 การดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า พิจารณาวางแผนดำเนินงานในพื้นที่ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
5. การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก
- จากการรายงานติดเชื้อไข้หวัด ในเขตประเทศกัมพูชา
4.2 การดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า พิจารณาวางแผนดำเนินงานในพื้นที่ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
5. การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก
- จากการรายงานติดเชื้อไข้หวัด ในเขตประเทศกัมพูชา