งานดูแลผู้สูงอายุ/LTC &COC
1. สสจ.ศรีสะเกษ ขอบคุณ ผอ.รพ.สต./PMทุก รพ.สต. ที่รายงานผลการดำเนินงานสนับสนุนแว่นสายตาตามนโยบายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข
ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือCMทุก รพ.สต. รายงานผลการดำเนินงานสนับสนุนแว่นสายตาตามนโยบายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือให้กรอกส่งทุก รพ.สต.ภายในวันที่ 27 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบคุณทุก รพ.สต.ที่รายงานข้อมูล โดยเฉพาะ รพ.สต.บ้านกฤษณา ,รพ.สต.บ้านดองกำเม็ด และ ศสม.ห้วยเหนือ ที่ได้ดำเนินงานสนับสนุนแว่นสายตาตามนโยบายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีจำนวนแว่นตาที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุน สปสช.ในพื้นที่(กปท.) รวมทั้งสิ้น 747 อัน และจำนวนแว่นตาที่กำลังดำเนินการร่วมกับกองทุน สปสช.ในพื้นที่(กปท.) รวมทั้งสิ้น 50 อัน
ตรวจสอบรายงานฯ คลิก https://shorturl.at/horAU
ที่มา : Lineกลุ่ม PM Ageing@Sisaket,256609251108.
2.การประเมินตนเองตามแบบประเมินการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ประจำปี พ.ศ. 2566
ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. (ส่วนกลาง) ขอความอนุเคราะห์ จนท.ผู้รับผิดชอบทุก รพ.สต. ให้ประเมินตนเองตามแบบประเมินการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) หลักเกณฑ์การให้คะแนนการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลผู้มีภาวะพึ่งพิง
ตามลิงค์นี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSduusaN8w3nLyjhDA0o75lVrmm0Hizz_PkXLS9cJSVkS0CLlw/viewform ภายในวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมานั้น
สสอ.ขุขันธ์ ขอขอบพระคุณ ผอ.รพ.สต./CMทุก รพ.สต. ที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี
ที่มา : เยี่ยม อุบลฯ.กลุ่มไลน์ CMศรีสะเกษ, 25660911.
งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
งานฟื้นฟูสมรรภาพคนพิการ
งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. สสจ.ศรีสะเกษ ขอให้หน่วยงานในสังกัดถือปฏิบัติตามนโยบายและแนว ทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
เรียน ผอ.รพ.สต./จนท.งานไอที ทุก รพ.สต.
- เพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไป
- ด้วยปัจจุบันพบเหตุการณ์และความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งการบุกรุกโจมตีผ่านอินเตอร์เน็ต การเรียกค่าไถ่ระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย การลบฐานข้อมูลผู้ป่วย สสจ.ศรีสะเกษ จึงขอให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และให้ดำเนินการเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ให้ทำการสำรองข้อมูล (Backup) ทุกวัน อย่างน้อย ๒ ชุด และจัดเก็บข้อมูลสำรองไว้ในที่ปลอดภัยจากการเข้าถึงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทุกช่องทาง
2. ตรวจสอบช่องโหว่ของระบบงานต่างๆ เปลี่ยนรหัสผ่านของฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย
3. หากมีระบบงานที่ต้อง Online ต้องมีระบบความปลอดภัยระดับสูง เพื่อป้องกันการบุกรุกเช่น อุปกรณ์ Firewall
4. ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงงบประมาณ บุคลากร และ แนวปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๘
ที่มา : ที่ ศก 0033.001/ว5700 ลว 5 ก.ย. 2566 เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ (รง.506) ผ่านระบบ Application Programing Interface (API) จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566
เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 นายธัชนนท์ คำใสย์ สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ มอบหมายให้ นายสุเพียร คำวงศ์ ผช.หัวหน้างานควบคุมโรค สสอ.ขุขันธ์ และคณะ (ซึ่งประกอบด้วยทีมงาน คปสอ.ขุขันธ์ ได้แก่ จนท.สสอ.ขข. 1 ท่าน , ตัวแทน จนท.รพ.สต. 2 ท่าน และ จนท.งานควบคุมโรค จากร.พ.ขุขันธ์ 2 ท่าน รวม 5 ท่าน) ไปเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ (รง.506) ผ่านระบบ Application Programing Interface (API) จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566 วัน ณ ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีท่านนพ.เสกสรรค์ จวงจันทร์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาและควบคุมโรคติดต่อ ประจำโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 100 คน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และทบทวนแนวทางการส่งข้อมูลรายงานโรคติดต่อที่ต้องรายงานทางระบาดวิทยา และเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานและสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตอบโต้สถานการณ์การระบาด ได้อย่างทันเวลา
ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา บรรยายเรื่องการเปลี่ยนผ่านการส่งข้อมูลเฝ้าระวังโรค
ทางระบาดวิทยา #R506 สู่ #D506
แบบประเมินความพึงพอใจการอบรมฯ คลิก
ที่มา : ด่วนที่สุด ที่ ศก0033.006/ว5782 ลว 11 ก.ย. 2566 เรื่อง ขอเชิญอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาในการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ (รง.๕๐๖) ผ่านระบบ Application Programing Interface (API) จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2566
2. การประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล (D506)
ลำดับเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้
00:46 เนื้อหาการประชุม
07:10 การรวบรวมข้อมูลเฝ้าระวังโรค
10:43 Timeline ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital 506
16:12 เปลี่ยนผ่านการส่งรายงานเฝ้าระวังโรค (Digital
21:42 ประเด็นการปรับเปลี่ยน
29:36 รหัสโรคที่ตัดออกยังต้องเฝ้าระวัง
34:32 การพัฒนาD506
38:23 การจัดการข้อมูลD506
46:59 การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
52:03 Web application : D506 portal
01:07:49 การส่งข้อมูลจากโปรแกรม HOSxP
01:36:20 การเตรียมServer และพัฒนาAPIโดยกองระบาดวิทยา 02:07:56 ลักษณะข้อมูลการรายงานข้อมูลผู้ป่วยตามกลุ่มอาการ 02:23:29 การนำเสนอรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาแบบดิจิตอล(Dashboard & Report)
03:03:29 สรุปทางเลือกระบบส่งข้อมูลจากสถานพยาบาลมายังD506
03:14:30 สิ่งที่กองระบาดวิทยาจะดำเนินการต่อ
เอกสารประกอบการประชุม คลิก https://shorturl.at/dfin9
3. การประชุมรับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปี 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตาอุด