งานดูแลผู้สูงอายุ/LTC &COC
1. สสจ.ศรีสะเกษ ให้แจ้งพื้นที่ดำเนินการแจ้งพิกัดและยืนยันรายชื่อ ผู้ที่เป็นกลุ่มติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 นี้
เรียน ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง/ผู้รับผิดชอบงานผู้สุงอายุทุกท่าน
- เพื่อโปรดทราบและพิจารณาเร่งรัดดำเนินการ
- สสอ.ขุขันธ์ รับแจ้งจาก สสจ.ศรีสะเกษ ให้แจ้งพื้นที่ดำเนินการแจ้งพิกัดและยืนยันรายชื่อ ผู้ที่เป็นกลุ่มติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ หากเสียชีวิตแล้วให้ระบุด้วย ทั้งนี้เนื่องจากทางโยธาธิการจังหวัดศรีสะเกษ จะลงพื้นที่เพื่อสำรวจการสนับสนุนค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในจังหวัดศรีสะเกษ
- แจ้งพิกัดและยืนยันรายชื่อ ผู้ที่เป็นกลุ่มติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ คลิก https://docs.google.com/spreadsheets/d/1MltngQufnfCCBpUFF5QxNc7dhSNL8EIHYjAasQsfNaQ/edit?usp=sharing
หมายเหตุ : ทั้งนี้หากเป็นกลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายให้ระบุด้วย และหากมีข้อมูลเพิ่มเติมให้ทางพื้นที่เพิ่มชื่อต่อได้เลยตามรายละเอียดในกูเกิ้ลชีทนี้ โดยขอให้สำรวจและลงพิกัดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 นี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลในมิติด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
ที่มา : ไลน์กลุ่มPM Ageing@Sisaket,25661030.
2. การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 ...
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 66/1 ของหมวด 7 ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานการบริหารจัดการทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565
"ข้อ 66/1 การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนที่กำหนดในหมวดนี้ ให้นำไปใช้จ่ายกับประชากรไทยทุกคนที่มิใช่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย"
... "ข้อ 8 การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามประกาศนี้ ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือเป็นการดำเนินการตามประกาศนี้ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ที่มา : Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ . (2023).https://www.hfocus.org
3. โครงการพัฒนาต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบ ระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ เขตสุขภาพที่ ๑๐
ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบ ระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ เขตสุขภาพที่ ๑๐ โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ปรับปรุงระบบโปรแกรม JHCIS-GIS เพื่อแสดงข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเชิงสารสนเทศภูมิศาสตร์ สนับสนุนโครงการดังกล่าว เพื่อทราบพิกัดในการดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มเป้าหมายอื่นๆได้อย่างทั่วถึง และตรงประเด็นสอดคล้องกับปัญหาในแต่ละพื้นที่
ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ ได้เชิญเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบโปรแกรม JHCIS ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้ดูแลข้อมูลปฐมภูมิในโรงพยาบาลทุกแห่ง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อติดตั้งระบบโปรแกรม JHCIS-GIS/GIS For HIM-PRO และ GIS For HosXP และฝึกปฏิบัติการใช้งานพิกัด หลังคาเรือน เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบประชุมทางไกล Webex Conference โดยให้ดาวน์โหลดโปรแกรม GIS4JHCIS ได้ที่ QRCODE ด้านท้ายหนังสือฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ที่มา : ที่ ศก 0033.011/ว6546 ลว 6 ต.ค. 2566 เรื่อง เชิญประชุมเชิงปฏิบัติการติดตั้งโปรแกรม JHCIS-GIS/GIS For HIM-PRO และ GIS For HosXP
4. สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือ รพ.สต.ในสังกัดฯ ดำเนินการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ
ตามที่ สสจ.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาต่อยอดเพื่อขยายผล รูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ เขตสุขภาพที่ ๑๐ ระยะที่ ๒ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต่อยอดและขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการ สุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ นั้น
ในการนี้ สสจ.ศรีสะเกษ โดย สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง แจ้งผู้รับผิดชอบงาน และผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบของท่าน ผ่านโปรแกรม JHCIS
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา และแจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ที่มา : ที่ ศก 0033.007/ว6898 ลว 25 ต.ค. 2566 เรื่อง ขอความร่วมมือดำเนินการระบุพิกัดตำแหน่งหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ
5. สสจ.ศรีสะเกษ ส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายด้านสถานชีวาภิบาล ประชุมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 มาเพื่อทราบ
จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2567 เดิมมี 13 ประเด็น เพื่อยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งได้มีการพิจารณาจากที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยสรุปรวบรวมจาก 13 ประเด็น เหลือเป็น 10 ประเด็นที่จะต้องดำเนินการภายใต้ Quick Win 100 วัน ซึ่งไม่ได้ยุบนโยบายใดก่อนหน้านี้
กระบวนการสำคัญ ดังนี้
1. มีศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อ บูรณาการ elderly care, LTC, PC, ปฐมภูมิ ทำหน้าที่ของตนเอง และ วางแผน ส่งต่อผู้ป่วยกลับบ้านหรือชุมชน
2. มีสถานชีวาภิบาลในชุมชน ที่รับดูแลผู้ป่วย LTC และ PC โดยในขั้นแรก อาจจัดบริการแค่ day care ก็ได้ โดยทีมงานสาสุขเราทำงานเหมือนเดิม เพิ่มบูรณาการPC homecare ก็ยังทำเหมือนเดิม ถ้าผู้ป่วยอยู่ที่สถานชีวาภิบาล เราก็ไปเยี่ยมที่สถานชีวาภิบาล
*** ทีม LTC ก็เหมือนเดิม
*** Homeward/hospital at home กำลังอยู่ระหว่าง สปสช. พิจารณาค่าชดเชย
สำหรับ Quick win ทุกเขตมี สถานชีวาภิบาล เขตละ 1 แห่ง โดย สามารถ upgrade สถานใดๆในชุมชนที่ให้บริการอยู่เดิมมาต่อยอดได้ ส่วนนี้จะเป็นของ อปท. หรือ เอกชน หรือมูลนิธิ ก็ได้ แต่ปรับให้ สามารถดูแลได้ทั้ง LTC และ PC
*** เรื่องค่าชดเชย ให้สถานชีวาภิบาล คุยกันระดับผู้บริหารยังไม่ทราบรายละเอียด
จะมีการตั้ง SP ชีวาภิบาลขึ้นใหม่ โดย ยก SP PC ออกมาจาก SP IMC&PC เดิม และเพิ่มกรรมการ ที่จะบูรณาการ บริการ ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น กรมอนามัย ส.สูงอายุ สสป. เป็นต้น
ประเด็นสำคัญ คือ สถานชีวาภิบาล เนื่องจากต้องดูแล LTC และผู้สูงอายุ จะต้องมีมาตรฐานตามที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กำหนด ตาม พรบ.ฯ มาตรฐาน สถานที่ ความปลอดภัย และบริการที่ใช้กำกับดูแลศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เบื้องต้นให้วางแผนหาต้นแบบไว้อย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่ง
ที่มา : ไลน์กลุ่มPM Ageing@Sisaket,25661019.
ที่มา : ที่ ศก 0033.013/ว6594 ลว 9 ต.ค. 2566 เรื่อง สำรวจความต้องการผู้ขอรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ
งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. สสจ.ศรีสะเกษ ขอความมือร่วมมือแจ้งสถานพยาบาลทดสอบส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล
ด้วย สานักงานสาธาณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากกระทรวงสาธารณสุข โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แจ้งปรับแนวทางการรายงานโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2558 โดยให้สถานพยาบาลทุกแห่ง ยกระดับการรายงานผู้ป่วยผ่านระบบ Application Programming Interface (API) ดังนั้น เพื่อให้การส่งข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาผ่าน API เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
ในการนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จึงขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ระบาดวิทยาและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของท่าน ได้ดำเนินการรายงาน ข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ดังนี้
1. ทดสอบส่งข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาทุกโรคที่กำหนดตามคู่มือ ส่งคู่ขนานกับการรายงานผ่านโปรแกรม R506 เดิม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านทาง API ที่กองระบาดวิทยาพัฒนาขึ้น หรือบันทึกข้อมูลโดยตรงผ่านทางเว็ปไซต์ http://d506portal.ddc.moph.go.th/ และเข้าดูข้อมูลที่นำส่งเข้าระบบแล้วผ่านเว็ปไซต์ดังกล่าวได้ตามสิทธิ์ ของผู้ใช้งานที่กำหนดโดย MOPH account center และกองระบาดวิทยาจะเริ่มให้ส่งข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อที่ ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาทุกโรค ผ่านทาง API ที่กองระบาดวิทยาพัฒนาขึ้น หรือบันทึกข้อมูลโดยตรงผ่าน ทางเว็ปไซต์ http://d506portal.ddc.moph.go.th/ เพียงช่องทางเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
2. ยกเลิกการรายงานเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่าน API และทางเว็ปไซต์ http://d506portal.ddc.moph.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2566 เป็นต้นไป โดยให้รายงานโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ร่วมกับโรคที่ต้องเฝ้าระวังอื่นๆ ภายใต้ระบบรายงาน 506
4. หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานสารสนเทศทางระบาดวิทยา กองระบาดวิทยา โทร 0 2590 3811 หรือเข้าร่วมกลุ่ม Open Chat Help desk D506 กองระบาด วิทยา หรือกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้ที่ผู้ประสานงานระบาดวิทยา นายพุทธิไกร ประมวล เบอร์โทร 08-9944-8185
ที่มา : ที่ ศก 0033.006/ว6634 ลว 11 ต.ค. 2566 เรื่อง ขอความมือร่วมมือแจ้งสถานพยาบาลทดสอบส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล
2. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอให้หน่วยงานป้องกัน ติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์
พร้อมนี้จังหวัดศรีสะเกษ ขอส่งสำเนาหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0212/ว29718 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2566 เรื่อง ขอให้หน่วยงานป้องกัน ติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไปด้วย
ที่มา : ที่ ศก 0033/ว20114 ลว 1 พ.ย. 2566 เรื่อง ขอให้หน่วยงานป้องกัน ติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์
1. การประชุมรับฟังและพิจารณาการนำเสนอ Care Plan ปี 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชร