"ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา"
ข้อมูลหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น(กปท.)
 

วาระการประชุมประจำเดือนตุลาคม 2567 ออนไลน์(อ.สุเพียร คำวงศ์)

งานงานดูแลผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ/LTC (COC, Palliative Care)

(ไม่มี)

งานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
1. สสจ.ศรีสะเกษ ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังและ ติดตามประเมินผลการขออนุญาตสมุนไพรควบคุม (กัญชา)
เรียน ผู้บังคับบัญชา
         - เพื่อโปรดทราบและพิจารณา
         - สสจ.ศรีสะเกษ ส่งสำเนาคำสั่งสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ ที่ ๔๔๕/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังและ ติดตามประเมินผลการขออนุญาตสมุนไพรควบคุม (กัญชา) เพื่อดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ในคำสั่งมอบหมายฯ
         - คำสั่งสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ ที่ ๔๔๕/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังและ ติดตามประเมินผลการขออนุญาตสมุนไพรควบคุม (กัญชา)
        1. คณะกรรมการอำนวยการ  มี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ประธานกรรมการ
        2. คณะทำงานกลั่นกรองและติดตามประเมินผลการขออนุญาตสมุนไพรควบคุม (กัญชา) ระดับจังหวัด มี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำกับดูแลกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานคณะทำงาน และหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นรองประธานคณะทำงาน
        3. คณะทำงานกลั่นกรองและติดตามประเมินผลการขออนุญาตสมุนไพรควบคุม (กัญชา) ระดับอำเภอ ประกอบด้วย
            3.1 สาธารณสุขอำเภอ ทุกอำเภอ ประธานคณะทำงาน
            3.2 หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลชุมชน ทุกแห่ง รองประธานคณะทำงาน
           3.3 เภสัชกร ผู้รับผิดชอบงานสมุนไพรควบคุม (กัญชา) คณะทำงาน (นายเด่นชัย ดอกพอง)
           3.4 แพทย์แผนไทยผู้รับผิดชอบงานสมุนไพรควบคุม (กัญชา) คณะทำงาน (นางชยิสรา คำแสน)
           3.5 ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ทุกอำเภอ คณะทำงาน
          3.6 พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในแต่ละพื้นที่อำเภอ คณะทำงาน ( อำเภอขุขันธ์ ผู้มีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ได้แก่ นายประกอบกิจ ศิลาโชติ , นางสุทิศา นิลเพชร , นางถนอมศรี อินทนนท์ , นายวีรวัฒน์ รัศมี , นายคลาย อาจสาลี , นางสมนึก นิยมหาญ  , นายสุเด่น วิสัยเลิศ , นายสุธี จาตุม , นางอภิชญา ดอกพอง , นายพนมกร อินทนนท์ , นางสุกัญญา คำศรี , นางสาวชญานิษฐ์ แก่นกาญจน์ และนางมนัชญา สุขทองสา ซึ่งวันออกบัตร 10-เม.ย.-66 และบัตรหมดอายุ 9-เม.ย.-71)
          3.7 หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลชุมชน ทุกแห่ง คณะทำงานและเลขานุการ
          3.8 ผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ทุกอำเภอ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
          มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
            1. ควบคุม กำกับ และติดตาม สถานประกอบการผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุม (กัญชา) เพื่อการค้า ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และประกาศกระทรวง สาธารณสุข ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด และรายงานต่อคณะทำงานควบคุม กำกับ ติดตาม การจำหน่ายหรือแปรรูป สมุนไพรควบคุม (กัญชา) เพื่อการค้า ไตรมาสละ ๑ ครั้ง (ทุก ๓ เดือน)
            2. ประสานงาน และขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับคณะทำงานระดับจังหวัด และพนักงานเจ้าหน้าที่ จากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครอง และราชการส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ รับผิดชอบ
           3. รายงานปัญหาอุปสรรค และสรุปผลการดำเนินงาน ควบคุม กำกับ ติดตาม เสนอต่อคณะทำงาน ตามลำดับต่อไป 
           4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการอำนวยการ มอบหมาย 
           ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                          สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2567
                                  (นายทนง วีระแสงพงษ์) 
                      นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

สรุปจำนวนใบอนุญาต ภ.ท. 11 จังหวัดศรีสะเกษ
ลำดับอำเภอจำนวนใบอนุญาตทั้งหมดยกเลิกใบอนุญาตคงเหลือจำหน่ายจำหน่ายและปลูกหมายเหตุ
1เมืองศรีสะเกษ24-24816
2กันทรลักษ์8-835
3กันทรารมย์51*413*ไม่มาชำระ
4โนนคูณ1-11-
5อุทุมพรพิสัย7-752
6ราษีไศล135*844*ไม่มาชำระ
7ห้วยทับทัน31*22-*ไม่มาชำระ
8ขุขันธ์6-624
9ขุนหาญ6-633
10เมืองจันทร์3-3-3
11ศรีรัตนะ1-1-1
12บึงบูรพ์3-312
13ยางชุมน้อย3-312
14พยุห์1-1-1
15น้ำเกลี้ยง2-211
16ภูสิงห์2-2-2
17ไพรบึง1-1-1
18ปรางค์กู่2-211
รวม917843351
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2567

คู่มือแนวทางการดำเนินงานลงพื้นที่สำรวจสถานที่ ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ  ณ ที่ตั้งของสถานประกอบการตามคำขออนุญาตจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุม(กัญชา) เพื่อการค้า คลิก

ที่มา : ที่ ศก 0033.014/ว7612 ลว 4 ต.ค. 2567 เรื่อง ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังและ ติดตามประเมินผลการขออนุญาตสมุนไพรควบคุม (กัญชา) 

งานวัดส่งเสริมสุขภาพ
(ไม่มี)

งานประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1. นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ฝากไว้ในเพจกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2567 ว่า 
บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ต่อไปต้องเป็น Diamond Generation " ทํางานฉับไว ภาษาดี ใช้เทคโนโลยีเก่ง เข้าถึงประชาชนในยุคโซเชียลมีเดียได้"
หมายเหตุ
Diamond Model มีบทบาทสำคัญในด้านสาธารณสุขปฐมภูมิของประเทศไทย โดยช่วยในการวิเคราะห์และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของระบบสุขภาพในประเทศ ผ่านการพิจารณาองค์ประกอบหลัก 4 ด้านที่มีผลต่อการให้บริการสุขภาพ
องค์ประกอบหลักของ Diamond Model ในสาธารณสุขปฐมภูมิ
    1. Demand Conditions (เงื่อนไขด้านอุปสงค์) : ความต้องการบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจากประชาชนในประเทศไทย ส่งผลให้มีการพัฒนาบริการสาธารณสุขปฐมภูมิที่ตอบสนองต่อความต้องการนี้ โดยเฉพาะในระดับชุมชนที่มีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข 
    2. Factor Conditions (เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต) : ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เช่น แพทย์และพยาบาล รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ 
    3. Related and Supporting Industries (อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน) : อุตสาหกรรมที่สนับสนุน เช่น การผลิตยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการข้อมูลผู้ป่วย ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการให้บริการสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
    4,​Strategy, Structure, and Rivalry (กลยุทธ์ โครงสร้าง และการแข่งขัน)​ : การแข่งขันระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้เกิดนวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการให้บริการ เช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการและลดค่าใช้จ่าย
ผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข
    การนำ Diamond Model มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ระบบสาธารณสุขปฐมภูมิ​​  ช่วยให้รัฐบาลและผู้บริหารสามารถ:
    1.พัฒนานโยบาย : สร้างนโยบายที่ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล.
    2. เพิ่มประสิทธิภาพ : ปรับปรุงกระบวนการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดระยะเวลาการรอคอย.
    3. สร้างความร่วมมือ : ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกัน.
    โดยรวมแล้ว Diamond Model ช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างระบบสาธารณสุขที่ยั่งยืนในอนาคต
ที่มา :
1. บุคลากร สธ. มุ่งสู่ Diamond Generation - กระทรวงสาธารณสุข. (2023).https://www.facebook.com/fanmoph/posts/931335785688332
2. Developing primary health care in Thailand: Innovation in the use of socio-economic determinants, Sustainable Development Goals and the district health strategy | Emerald Insight. (2018). Public Administration and Policy, 21(1), 36–49. https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/PAP-06-2018-005/full/html
3. Hivelr Economics Review. (2024, March 5). Thailand: Porter’s Diamond Model-The Competitive Advantage of Nations. Retrieved October 3, 2024, from Hivelr website: https://www.hivelr.com/2024/03/thailand-porters-diamond-model-the-competitive-advantage-of-nations/



งานส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในรูปแบบดิจิทัล (D506)
1. สสจ.ศรีสะเกษ เร่งรัดติดตามข้อมูล DATA 506 
เรียน  ผู้บังคับบัญชา /ผอ.รพ.สต./ทีม CDCU รพ.สต.ทุกแห่ง
          - เพื่อโปรดทราบและพิจารณา
          - ตามที่ งานควบคุมโรค สสจ.ศรีสะเกษ ติดตามข้อมูล DATA 506 และขอความร่วมมือ สสอ.ทุกแห่ง รวมรวมไฟล์จาก รพ.สต./หน่วยบริการในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ทุกแห่ง เพื่อนำเข้าโปรแกรมPROGR506ของอำเภอขุขันธ์ แล้วส่งออกเป็น EP2MAIN.dbf ภาพรวมอำเภอขุขันธ์ ภาคเช้าวันจันทร์ทุกสัปดาห์ ผ่าน email: Cdcsisaket@yahoo.com ต่อไป
          - ในการนี้ สสอ.ขุขันธ์ ขอความร่วมมือท่านแจ้งผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรค ประจำ รพ.สต.ของท่าน เร่งรัดดำเนินการส่งข้อมูล EP2MAIN.dbf จาก JHCIS รพ.สต.ของท่าน(ตั้งค่าเริ่มต้นส่งออกข้อมูลเป็นวันที่ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567) โดยด่วน ภายในภาคเช้าวันศกร์ทุกสัปดาห์ ก่อนเวลา 12.00 น. ให้จงได้
          - ส่งข้อมูล EP2MAIN.dbf รพ.สต.ในอำเภอขุขันธ์ คลิก https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScWit6rKu_wyoz352iHrzlDQlmJ_yh7ri1UHqSN4Kt6VR132Q/viewform
          - ตรวจสอบ รพ.สต.ที่ส่งข้อมูลแล้วและทันเวลา คลิก https://docs.google.com/spreadsheets/d/1fqGPn5wi_oEn1iLT4D-CZl0jhQYtJw-kvmeYCxCrnLk/edit?usp=sharing

ที่มา : ไลน์กลุ่ม Pinoy EOC SSK,25671002.

2. ตรวจสอบรายงานผลความครอบคลุมในการรายงานข้อมูล 506 ผ่านระบบ Digital506 กองระบาดวิทยา 
เรียน  ผู้บังคับบัญชา /ผอ.รพ.สต./ทีม CDCU รพ.สต.ทุกแห่ง
          - เพื่อโปรดทราบและพิจารณา
          - 
ทีมระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.ศรีสะเกษ ขอความร่วมมือทีมเครือข่ายระบาดวิทยาของโรงพยาบาล และ โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกแห่ง ได้ดำเนินการส่งข้อมูลให้ทันเวลา ตามเกณฑ์ที่กำหนด ภายใน 7 วันต่อไป
          - ตรวจสอบ 
ข้อมูลความครอบคลุมและความทันเวลาในการรายงานข้อมูล 506 ผ่านระบบ Digital506 กองระบาดวิทยา 
คลิก
ที่มา : ไลน์กลุ่ม 
Pinoy EOC SSK,25670827@0943.

2. ตรวจสอบการส่งข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล (D506) อำเภอขุขันธ์ ถึง ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 คลิก 

งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
(ไม่มี)